เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี และเชื้อเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  โดยจะทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า CD4  ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง หากไม่ได้รับการรรักษา จะทำให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น 

ด้วยปัจจุบันมีการพัฒนายารักษาคนที่ติดเชื้อเอชไอวี สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป  หากผู้ติดเชื้อเอชไอวี เริ่มทานยาต้านไวรัสโดยเร็ว  และทานยาสม่ำเสมอ ตรงเวลา โดยโรคเอดส์นี้เป็นโรคที่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้  ก่อนที่เราจะไปทราบการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี เราต้องควรรู้ไว้ว่าโรคเอดส์ติดต่อได้ทางไหนบ้าง

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างไร

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีมีความสำคัญอย่างไร?

เชื้อเอชไอวี เป็นเชื้อที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ เมื่อติดเชื้อเอชไอวีไปแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เชื้อโรคหมดไปจากร่างกายได้ ทำได้แค่เพียงรักษาเพื่อประคับประคองอาการ

ช่องทางที่ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีได้

  • ติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ติดจากแม่สู่ลูก

 ช่องทางที่ไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีได้

  • การใช้อากาศหายใจ ร่วมกัน
  • การรับประทานอาหารใช้ถ้วย ชาม ร่วมกัน
  • การสัมผัสหรือจับมือกัน จูบกันยกเว้นปากมีแผลทั้ง 2 ฝ่าย
  • การสัมผัสเหงื่อหรือน้ำตา
  • การว่ายน้ำในสระเดียวกัน
  • การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
  • การถูกแมลงหรือยุงกัด
  • การใช้ห้องน้ำร่วมกัน

การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

เมื่อเราทราบแล้วว่าเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อทางไหนได้บ้าง และไม่สามารถติดต่อทางไหนบ้างฉะนั้นเราก็จะสามารถป้องกันทางติดเชื้อเอชไอวีได้ โดยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นสาเหตุของโรคด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย หมายถึง การใช้ถุงยางอนามัย โดยเฉพาะในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจุบันมีถุงยางอนามัยทั้งของผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย โดยใช้ป้องกันได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือทางปาก แต่ควรสวมถุงยางอนามัยก่อนมีการสัมผัสกันของอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก 

นอกจากนี้ การใช้สารหล่อลื่นร่วมกับถุงยางอนามัยอาจช่วยป้องกันถุงยางอนามัยฉีกขาด และช่วยลดความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของช่องคลอดหรือทวารหนักที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีได้อีกด้วย แต่ควรเลือกสารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำแทนน้ำมัน เพราะสารหล่อลื่นที่ใช้น้ำมันอาจทำให้น้ำยางของถุงยางลดลงจนอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายสิ่งสำคัญคือต้องสวมถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี และหมั่นตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ 

การป้องกันเชื้อเอชไอวี

ใช้ยาป้องกันเชื้อเอชไอวี

การใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวี Pre-Exposure Prophylaxis หรือ PrEP เป็นอีกวิธีที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหรือยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ โดยการรับประทานยาชนิดนี้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันได้ 70 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยาชนิดนี้ยังช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย

ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การพาตัวเองและคู่นอน ไปตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ดังนั้น ทั้งผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักหรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่รักของตนเองก็ตาม ควรไปรับการตรวจปีละครั้ง เพราะการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้

ตรวจเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์

เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้อาจถูกส่งผ่านจากแม่สู่ลูกได้ ซึ่งหากคุณแม่มีเชื้อเอชไอวีขณะตั้งครรภ์ ควรไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสม และการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไปสู่ลูก โดยหลังจากคลอดแล้ว ลูกน้อยที่เพิ่งคลอดก็ยังคงต้องรับยาต้านเอชไอวี ซึ่งยาจะช่วยป้องกันเด็กทารกจากการติดเชื้อเอชไอวีในขณะคลอดได้ นอกจากนี้ การให้เด็กดื่มนมแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีอาจทำให้ลูกน้อยติดเชื้อได้ จึงควรให้เด็กดื่มนมผงแทนนมแม่

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

เชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ก็อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

หลีกเลี่ยงการใช้เข็มหรืออุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

เข็มฉีดยาทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ เพราะการใช้เข็มฉีดยาอาจนำมาซึ่งเชื้อเอชไอวีและเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเลือดอย่างไวรัสตับอักเสบซีได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะในกรณีใด ๆ ก็ตาม   นอกจากนี้ หากต้องการสักหรือเจาะตามร่างกาย ควรใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและปราศจากเชื้อเสมอ

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่ง

หากมองจากภายนอก แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะระบุว่าใครมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายบ้าง ฉะนั้น อย่าสัมผัสเลือดของคนอื่นเด็ดขาด ถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับของเหลวอื่น ๆ ในร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็น น้ำอสุจิ ของเหลวในช่องคลอด เยื่อเมือก ของเหลวในไขสัน และน้ำไขข้อ (โดยปกติแล้ว จะมีแต่ผู้ที่ทำงานทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น ที่ต้องเจอกับของเหลวประเภทนี้)

หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด

ควรเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสพยาเสพติด เนื่องจากแอลกอฮอล์ จะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ และนำไปสู่สถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ ได้ นอกจากนี้ การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ก็ทำให้มีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้

วิธีป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี

หากติดเชื้อเอชไอวีไปแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยารักษาควบคุมการแพร่เชื้อ ซึ่งมีหลายรูปแบบด้วยกัน อย่างการใช้ยา PEP หรือ Post-exposure Prophylaxis ซึ่งเป็นการรับประทานยาต้านเอชไอวีร่วมกันหลายตัวภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากได้รับเชื้อ โดยยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีได้ รวมทั้งการใช้ยา PrEP ก็สามารถช่วยป้องกันเชื้อลุกลามได้เช่นกัน

อีกวิธีหนึ่ง คือ การใช้ยาต้านรีโทรไวรัสหลายตัวร่วมกัน (Antiretroviral Therapy: ART) เช่น เนวิราปีน อาบาคาเวียร์ อะทาซานาเวียร์ หรืออินดินาเวียร์ เป็นต้น หากใช้ยาอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดจำนวนของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือดลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำมาก จนห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจไม่พบเชื้อ ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์มีสุขภาพดีและทำให้เชื้อไม่แพร่กระจายสู่ผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์ด้วย

แม้การใช้ยาบางชนิดอาจช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อเอชไอวีแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ แต่ผู้ป่วยก็ควรป้องกันการแพร่เชื้อโดยใช้วิธีอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้ออย่างการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก พาคู่รักและตนเองไปตรวจหรือรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปรึกษาคู่รักเกี่ยวกับการใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวี และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก