ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการโป่งพองของหลอดเลือดขนาดเล็กบริเวณเยื่อบุช่องทวารหนัก รวมถึงมีการหย่อนยานของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเยื่อบุช่องทวารหนักด้วย 

ปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร เช่น ภาวะท้องผูก และการเบ่งอุจจาระนานๆ เป็นต้น สำหรับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย อาหารรสจัด หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจกระตุ้นอาการของริดสีดวงทวารให้มากขึ้นได้ โรคริดสีดวงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาเสมอไปหากไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธีแต่เนิ่นๆ

โรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวาร คืออะไร?

โรคริดสีดวงทวาร  ( Hemorrhoid) เป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดดำทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่ และที่ขอบรูทวารหนักเกิดอาการบวมพองหรือยืดตัว มีอาการยื่นนูนเป็นติ่งออกมาจากทวารหนัก โดยสามารถแบ่งโรคนี้ออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

  • ริดสีดวงทวารชนิดภายใน (Internal Hemorrhoids) เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อทวารหนักที่อยู่สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนักเกิดการโป่งพองแตกมีเลือดออก และไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกน้อยมาก 
  • ริดสีดวงทวารชนิดภายนอก (External Hemorrhoids) เกิดบริเวณทวารหนักส่วนล่าง หรือบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก มีอาการนูนเป็นติ่งออกจากทวารหนักริดสีดวงชนิดนี้สามารถสังเกตเห็น และคลำได้  ง่ายกว่าริดสีดวงภายใน และ หลอดเลือดที่โป่งพองจะถูกคลุมด้วยผิวหนังจึงอาจเกิดความเจ็บปวดได้ เพราะผิวหนังมีปลายประสาทรับความรู้สึก

สาเหตุโรคริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการโป่งหรือการพองของกลุ่มเส้นเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวของเยื่อบุผนังบริเวณทวารหนัก เส้นเลือดดำที่โป่งพองเหล่านี้จะดันให้ผิวของเยื่อบุผนังบริเวณทวารหนักโป่งพองขึ้นมาด้วย หากเส้นเลือดโป่งพองไม่มากนัก คนไข้จะไม่มีอาการใดๆ แต่หากโป่งพอขึ้นมามากจะทำให้เห็นเป็นก้อนนูนขึ้นมาจากผิวซึ่งเรียกว่าหัวของริดสีดวงทวาร

มักเกิดจากแรงดันที่มีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติในเส้นเลือดทวารหนัก ทำให้คั่งเลือดและยืดขยายโตขึ้นจนมีอาการบวม ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่นนี้เกิดได้หลายประการ ได้แก่

  • การเบ่งอุจจาระแรง
  • นั่งถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน
  • ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
  • เป็นโรคอ้วน
  • ตั้งครรภ์
  • มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก 
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
  • ยกและหิ้วของหนักเป็นประจำ
  • มีโรคประจำตัวอื่นที่เพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ตับแข็งเป็นต้น
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทางทวารหนัก 
  • โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือดจึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย
  • อาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร

อาการโรคริดสีดวงทวาร

อาการที่แสดงให้สงสัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารมีอยู่ 2 อย่างคือ มีเลือดสีแดงสดๆออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ อาจออกมาเป็นเลือดฉาบบนผิวของอุจจาระ หรือมีคราบเลือดสดติดอยู่บนกระดาษชำระเวลาที่เช็ดและมีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาจากรูทวารหนัก 

อาการขึ้นอยู่กับชนิดของโรคริดสีดวงทวาร

  • โรคริดสีดวงทวารภายใน เกิดภายในลำไส้ตรง มักมองไม่เห็นหรือไม่ทำให้เจ็บ แต่หากต้องเบ่งอุจจาระ อาจมีอาการเลือดสดออกทางทวารหนักแต่ไม่เจ็บ อาจมีเลือดหยดลงในโถสุขภัณฑ์หรือบนกระดาษทิชชู  หรือโรคริดสีดวงแบบมีก้อนยื่นออกนอกทวาร ซึ่งจะรู้สึกเจ็บและระคายเคือง

    ลักษณะความรุนแรงของอาการแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับด้วยกันดังนี้
    • ระดับที่หนึ่ง มีเลือดออกให้เห็นโดยไม่มีอาการเจ็บปวดและไม่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาจากรูทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ และเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้าท้องผูกเลือดจะออกมากยิ่งขึ้น
    • ระดับที่สอง อาการมากขึ้น หัวริดสีดวงทวารโตมากขึ้นเริ่มโผล่ออกมาพ้นทวารหนักแล้วพอควร เวลาเบ่งอุจจาระจะออกมาให้เห็นมากขึ้น แต่เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะหดกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เอง
    • ระดับที่สาม อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นเวลาถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงทวารจะโผล่ออกมามากกว่าเดิม หรือเวลาจาม ไอ ยกสิ่งของหนัก ๆ ที่ความเกร็ง เบ่งในท้องเกิดขึ้น หัวริดสีดวงทวารจะออกมาข้างนอกทวารหนักแล้วก็กลับเข้าที่เดิมไม่ได้ ต้องเอานิ้วมือดัน ๆ เข้าไปถึงจะเข้าไปอยู่ภายในทวารหนักได้ 
    • ระดับที่สี่ อาการริดสีดวงกำเริบมาก โตมากขึ้น มองเห็นได้จากภายนอกอย่างชัดเจน เกิดอาการบวม อักเสบ อาการแทรกซ้อน รุนแรงมาก มีเลือดออกมาเสมอ อาจมีน้ำเหลือง เมือกลื่น และอุจจาระก็ยังตามออกมาอีกด้วยทำให้เกิดความสกปรกและมีอาการเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อาจเกิดอาการคันร่วมด้วย บางทีอาจเน่าและอักเสบมากยิ่งขึ้น การติดเชื้อโรคเป็นไปได้ง่าย และเมื่อเลือดออกมาเรื่อย ๆ จะเกิดอาการซีด มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลงจะเกิดอาการหน้ามืดมมีไตแข็งรอบทวารหนัก เพราะหัวริดสีดวงไม่ยอมผลุบเข้าไปแม้ใช้นิ้วมือดัน ทำให้รู้สึกรำคาญจนถึงมีอาการเจ็บปวด 
  • โรคริดสีดวงทวารภายนอก ชนิดที่มีเลือดขังอยู่ (Thrombosed external hemorrhoid) ซึ่งเกิดจากการมีลิ่มเลือดแข็งค้างอยู่ในกลุ่มเส้นเลือดดำบริเวณปากทวารหนัก ริดสีดวงทวารชนิดภายนอกนี้ เมื่อมีอาการจะทำให้รู้สึกปวดอย่างเฉียบพลันพร้อมมีก้อนนูนแข็งบริเวณด้านนอกของปากทวาร มักมีอาการ
    • เลือดออก
    • ผิวรอบทวารบวม
    • ไม่สบายตัว เจ็บปวด
    • อาการระคายเคือง คันบริเวณทวารหนัก
  • โรคริดสีดวงทวารแบบมีลิ่มเลือด เมื่อเกิดลิ่มเลือดในริดสีดวงทวารภายนอก มักมีอาการ
    • บวม
    • ปวดรุนแรง
    • อักเสบ
การรักษาโรคริดสีดวงทวาร

การรักษาโรคริดสีดวงทวาร

  • การดูแลตัวเองที่บ้าน
    การดูแลรักษาตัวเองที่บ้านสามารถทำได้หากอาการไม่รุนแรง
    • เพิ่มอาหารกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เพื่อเพิ่มปริมาตรของอุจจาระและความอ่อนนุ่ม ทำให้ไม่ต้องเบ่งถ่าย ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการ แต่ควรเพิ่มการรับประทานใยอาหารทีละน้อยเพื่อป้องกันอาการท้องอืด
    • ใช้ครีมหรือยาสอดที่มีสารไฮโดรคอร์ติโซน หรือแผ่นแปะที่มีสารสกัดวิชเฮเซลหรือยาชา
    • การนั่งแช่ในน้ำอุ่น เพื่อลดการอักเสบและลดการขยายตัวของหลอดเลือดดำประมาณ 10-15 นาที โดยควรทำทั้งก่อนและหลังถ่ายอุจจาระ 
    • การกินยา โดยผู้ป่วยสามารถกินยาลดอาการบวมของเส้นเลือดดำ หรือยาแก้ปวด
    • การดูแลตัวเองที่บ้านสามารถช่วยรักษาอาการได้ภายใน 7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีอาการปวดและเลือดออกมากขึ้น ควรพบแพทย์โดยทันที
  • การใช้ยา
    หากอาการไม่รุนแรง สามารถใช้แผ่นแปะ ครีม ยาทาขี้ผึ้ง หรือยาสอดที่มีสารกสัดวิชเฮเซลหรือสารไฮโดรคอร์ติโซนเพื่อบรรเทาอาการ อย่างไรก็ตาม การใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์นานๆจะทำให้ผิวหนังบางลง จึงไม่ควรใช้นานเกิน 7 วัน เว้นในกรณีที่แพทย์แนะนำ
  • การผ่าตัดลิ่มเลือดในริดสีดวงทวารภายนอก
    หากมีอาการห้อเลือดหรือลิ่มเลือดที่สร้างความเจ็บปวด การผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ทันที แต่การผ่าตัดจะได้ผลดีเมื่อทำภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดลิ่มเลือด
  • หัตถการการรักษาแบบเจ็บตัวน้อย
    หัตถการเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวารที่มีอาการและมีเลือดออกบ่อย มีหลายวิธี โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาลและไม่จำเป็นต้องดมยาสลบหรือใช้ยาระงับความรู้สึก
  • การใช้ยางรัด
    เป็นวิธีสำหรับผู้ป่วยที่มีริดสีดวงภายในที่ยื่นออกมาที่มีขั้วขนาดเหมาะสมในการรัด เพื่อตัดการส่งเลือดไปยังริดสีดวงทวารหนักภายในโดยการรัดยาง 1-2 เส้นรอบหัวริดสีดวงเพื่อให้หัวเล็กลง และหลุดออกภายใน 1 สัปดาห์ หรือหลุดออกมาเองตามธรรมชาติ
  • การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอดริดสีดวงทวาร
    ฉีดสารเคมีเพื่อให้เนื้อเยื่อริดสีดวงหดตัว วิธีนี้ไม่เจ็บหรือเจ็บเล็กน้อย แต่ประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ยางรัด แต่แพทย์จะไม่ฉีดสารเคมีเข้าริดสีดวงโดยตรง เพราะสารเคมีอาจจะเข้าเส้นเลือดและส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้องและแน่นหน้าอกได้
  • การจี้ริดสีดวง เพื่อทำให้เนื้อเยื่อหดยุบตัว
    โดยใช้ความร้อนจากแสง เลเซอร์ หรืออินฟราเรดเพื่อทำให้หัวริดสีดวงภายในขนาดเล็กที่มีเลือดออกหดยุบและแข็งตัวขี้น ซึ่งอาจทำให้ไม่สบายตัวและมีผลข้างเคียงบ้าง
  • การผ่าตัด
    โดยปกติแล้วไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด เว้นแต่ว่าหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่หรือการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล  การผ่าตัดแบ่งได้ 4 แบบ
    • ผ่าตัดริดสีดวง แบบธรรมดา : เป็นการ ผ่าตัด ริดสีดวง โดยเอาหัวริดสีดวงออกไปเลย แล้วเย็บปิดปากแผล ซึ่งใช้เวลาพักฟื้นนาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีหัวริดสีดวงทวารขนาดใหญ่มาก
    • ผ่าตัดริดสีดวง แบบเลเซอร์ : วิธี การ ผ่าตัด ริดสีดวงแบบนี้ แพทย์จะทำการเจาะเปิดแผล แล้วสอดใยแก้วนำแสงเลเซอร์ ผ่านทางทวารหนัก ลอดใต้ริดสีดวง ไปยังขั้วของเส้นเลือดที่เลี้ยงริดสีดวงอยู่ จากนั้นจะยิงเลเซอร์เข้าไป จี้เส้นเลือดบริเวณหัวริดสีดวงให้ฝ่อ และ ยุบลง ซึ่งข้อดีของการรักษาริดสีดวงวิธีนี้ คือ แผลมีขนาดเล็ก เพราะขนาดรอยเจาะขนาด 2 – 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และ ไม่ต้องเย็บแผลหลังเลเซอร์เสร็จ
    • ผ่าตัดริดสีดวง : โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ : เป็นวิธี การ รักษา ริดสีดวง ที่เหมาะกับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารภายใน และมีหลายหัว โดยแพทย์จะใช้เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ ในการผ่าตัด และ เย็บแผลไปในเวลาเดียวกัน
    • ผ่าตัดริดสีดวง แบบเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง : เป็นวิธี การ รักษา ริดสีดวง ที่เหมาะกับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารภายนอก หรือ เป็นริดสีดวงระยะ 3 และ 4 ชนิดที่หัวไม่สามารถดันกลับเข้าไปข้างในได้ โดยวิธี การ ผ่าตัด ริดสีดวงรูปแบบนี้ จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจหาตำแหน่งเส้นเลือด ที่มาเลี้ยงริดสีดวงก่อน เมื่อเจอแล้วจะทำการเย็บผูกเส้นเลือดนั้น และ เย็บรั้งหัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านในทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงจะค่อย ๆ ยุบ และ ฝ่อลงไปเอง

ตรวจโรคริดสีดวงทวาร ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก