เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกตามข้อต่างๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลัน โดยพบได้บ่อยในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โรคเก๊าท์เป็นโรคที่สามารถรักษาและควบคุมไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้

โรคเกาต์

โรคเกาต์ คืออะไร?

โรคเกาต์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบจำเพาะที่เกิดเนื่องจากมีระดับกรดยูริก (Uric acid)  ในเลือดสูงกว่าปกติ และสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน ทำให้มีการตกผลึกยูเรต (Monosodium Urate, MSU) ในข้อ ก่อให้เกิดอาการข้ออักเสบขึ้น หากมีการตกตะกอนในกระดูกอ่อน  เนื้อเยื่อต่างๆ รอบข้อ และใต้ผิวหนัง จะเกิดเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำตามตำแหน่งต่างๆ เรียกว่า โทฟัส (tophus) ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม แดงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันรุนแรงอย่างรวดเร็วในเวลา 12 – 24 ชั่วโมง

โดยภาวะกรดยูริกสูงหมายถึงระดับกรดยูริกมากกว่า 7 มก./ดล. ในเพศชาย และ 6 มก./ดล. ในเพศหญิง โรคเกาต์พบบ่อยในชายวัยกลางคนขึ้นไป หรือหญิงในวัยหมดประจำเดือน

สาเหตุโรคเกาต์

โรคเก๊าท์เกิดจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริก (Uric acid) ในร่างกาย โดยกรดยูริกได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และ พบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิด โดยปกติพิวรีนที่ร่างกายได้รับจะถูกย่อย และกลายเป็นกรดยูริก ในคนปกติไตจะทำหน้าที่ขับกรดยูริกออกให้ทันต่อการสร้างใหม่ แต่ถ้ากรดยูริกสูงติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกิดเป็นผลึกสะสมอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ กรดยูริกเปรียบเสมือนของเสียในร่างกายที่เหลือจากการกำจัดเซลล์ที่หมดอายุลง 

โดยร่างกายของแต่ละคนจะมีกรดยูริกอยู่ประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 มักได้รับ คือ กรดยูริกในผู้ชาย ไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และกรดยูริกในผู้หญิง ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  โรคนี้สามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์

ปัจจัยที่กระตุ้นให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงจนตกตะกอนเป็นผลึก ได้แก่

  • การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
  • อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการสร้างเซลล์เพิ่มขึ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) โรคสะเก็ดเงิน
  • อาการเจ็บป่วยที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปกติ ขณะเดียวกันก็ลดความสามารถในการกำจัดกรดยูริกออกจากร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต
  • การใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลให้ไตขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้น้อยลง

อาการโรคเกาต์

ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีอาการปวด บวมแดง ร้อนบริเวณข้ออย่างฉับพลันทันทีทันใด โดยมักเริ่มจากข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า แต่ก็สามารถเกิดกับข้ออื่นๆ ได้ เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ซึ่งจะเป็นๆ หายๆ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงโดยแบ่งเป็นระยะได้ดังนี้

ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

ลักษณะเด่นของโรคในระยะนี้ คือ การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันที่บริเวณข้อในส่วนล่างของร่างกาย โดยครั้งแรกมักเกิดที่บริเวณหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือที่ตำแหน่งข้อเท้า

ระยะที่ไม่มีอาการข้ออักเสบและระยะเป็นซ้ำ

ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปกติทุกอย่าง มักมีประวัติข้ออักเสบระยะเฉียบพลันมาก่อน ระยะเวลาตั้งแต่การมีข้ออักเสบครั้งแรกถึงระยะต่อไปอาจกินเวลาแตกต่างกันในแต่ละราย

หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีโอกาสเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 1 – 2 ปี เมื่อเป็นซ้ำบ่อยๆ จำนวนข้ออักเสบจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น ระยะเวลาในแต่ละครั้งที่มีข้ออักเสบยาวนานขึ้น อาจมีอาการทางกายอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไข้

ระยะข้ออักเสบเรื้อรังจากโรคเกาต์

ลักษณะจำเพาะ คือ พบข้ออักเสบหลายข้อแบบเรื้อรังร่วมกับการตรวจพบก้อนที่เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตตามเนื้อเยื่อต่างๆ หรือเรียกว่า โทฟัส (tophus) บางครั้งอาจแตกออกมาเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายชอล์ก ตำแหน่งที่พบโทฟัสได้บ่อยนอกจากบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าและข้อเท้า คือ ปุ่มปลายศอก เอ็นร้อยหวาย ปลายนิ้ว และอาจพบที่ใบหูร่วมด้วย ในระยะนี้จะพบข้ออักเสบหลายข้อ และอาจมีไข้จากการอักเสบได้

อาการโรคเกาต์

การรักษาโรคเกาต์

แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ คือ การลดกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลง ซึ่งทำได้โดยการรับประทานยาละลายผลึกกรดยูริกแล้วให้ร่างกายขับออก เมื่อกรดยูริกลดต่ำลงก็จะเกิดการอักเสบน้อยลง

การรักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา

  • ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเกาต์ และการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเกาต์ เช่น
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร และเครื่องดื่ม
  • การรักษาโรคร่วมและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาโดยการใช้ยา

  •  ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้ดียิ่งขึ้น
  • ในช่วงที่มีอาการปวดอาจจะรับประทานยาแก้ปวด Paracetamol หรือยาแก้ปวดอื่นๆ
  • ช่วงที่มีการอักเสบของข้อให้ใช้ยา Colchicine 0.6 mg. จน อาการปวดดีขึ้น และต้องหยุดยาทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย
  • ให้ยาลดอาการอักเสบ
  • ช่วงที่ปวดให้พักและดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกตะกอนของกรดยุริก
  • ให้นอนพัก ยกเท้าสูง
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือการเดิน
  • ห้ามบีบนวดข้อที่อักเสบ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาอาการอักเสบเฉียบพลันแล้ว ยังเป็นการป้องกันการกลับมาสะสมใหม่และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค รวมถึงการเกิดปุ่มหรือก้อนผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อที่เรียกว่าก้อนโทฟัส (tophus) ซึ่งทำให้ดูไม่สวยงาม

ตรวจโรคเกาต์ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก