หลายคนมักเกิดความสงสัยว่าตัวเองอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวลไปต่าง ๆ นานา ฉะนั้นการประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีเบื้องต้นด้วยตัวเองก่อนว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะไปปรึกษาแพทย์ หรือทำการตรวจเลือดเพื่อความสบายใจ และความปลอดภัย เพื่อคลายความเครียด และวิตกกังวล และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อไปได้

ประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง

ช่องทางการติดต่อของเชื้อเอชไอวี

  • ทางเพศสัมพันธ์ คือ การร่วมเพศทางช่องคลอด ทวารหนัก โดยไม่สวมถุงยางอนามัย และรวมถึงการร่วมเพศทางปาก
  • ทางเลือด คือ การใชเ้ข็ม และอุปกรณ์ในการฉีดยาร่วมกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี การรับเลือดจากผู้อื่น เกิดมีบาดแผลแลเสสัมผัสเลือดของผผู้ติดเชื้อเอชไอวี ทำให้เชื้อเข้าสู่บาดแผล หรือเยื่อบุที่ไม่ปกติได้
  • จากแม่สู่ลูก ขณะต้้งครรภ์ ระหวา่งคลอด หลังคลอด หรือขณะให้นมลูก จากแม่ที่ไม่ไดร้ับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส หรือลูกที่ยังไม่ไดร้บยาป้องกันการติดเชื้อเมื่อแรกเกิด

การติดเชื้อเอชไอวีมีหลายประการ ดังนี้

  • ปริมาณเชื้อเอชไอวีที่ได้รับ หากได้รับเชื้อเอชไอวีในปริมาณมาก ก็จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงตามไปด้วย โดยจะพบมากที่สุดในเลือด รองลงมาคือในน้ำอสุจิ และน้ำในช่องคลอด
  • การมีบาดแผล หากมีบาดแผลบริเวณผิวหนังหรือในปากก็ย่อมทำให้มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีสูง เพราะเชื้อเอชไอวี สามารถเข้าสู่บาดแผลได้ง่าย
  • ความบ่อยในการสัมผัสเชื้อ หากมีการสัมผัสเชื้อไวรัสบ่อย โอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อก็มีสูงขึ้น เช่น นักวิจัยที่ต้องทำการทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เอชไอวี เป็นต้น
  • การติดเชื้อแบบอื่น ๆ เช่น แผลเริม ซึ่งแผลชนิดนี้จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่ที่บริเวณแผลเป็นจำนวนมาก ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีได้ง่าย และเชื้อเอชไอวีก็ยังเข้าสู่บาดแผลได้ง่ายขึ้นด้วย
  • สุขภาพของผู้รับเชื้อ หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่แล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ยาก แต่หากสุขภาพอ่อนแอ ก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเช่นกัน

องค์ประกอบในการรับ/แพร่เชื้อเอชไอวี

  • ทางออกของเชื้อ (Exit) ต้องพิจารณาว่า เชื้อเอชไอวีออกจากร่างกายทางใด ได้แก่ เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด หรือน้ำหล่อลื่นจากการร่วมเพศที่มีเชื้อเอชไอวีปนออกมาได้ ส่วนในน้ำตา น้ำลาย เหงื่อ ไม่มีปริมาณเชื้อเอชไอวีพอที่จะเกิดการแพร่เชื้อ หรือส่งต่อเชื้อไปยังผู้อื่นได้
  • เชื้อมีชีวิตอยู่ (Survive) เชื้อเอชไอวีต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น อยู่ในร่างกายมนุษย์ ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพความเป็นกรด เป็นด่าง และอุณหภูมิสูง เป็นต้น เพราะเชื้อเอชไอวีไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้
  • ทางเข้าของเชื้อ (Enter) เชื้อเอชไอวีต้องเข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด โดยผ่านช่องทางเปิดต่างๆ เช่น บาดแผลเปิด รอยถลอกบริเวณอวัยวะเพศ และ ช่องทางการมีเพศสัมพันธ์ ทั้้งชายและหญิงเป็นต้น
  • มีปริมาณเชื้อมากพอ (Sufficient) จำนวนเชื้อเอชไอวีที่เข้าไปในร่างกายจะต้องมีปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีในร่างกายของเรา

ปัจจัยของการได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายได้ มีดังนี้

  • แหล่งที่อยู่ของเชื้อเอชไอวี (Source) คือ เชื้อเอชไอวีจะสามารถอยู่ในคนเท่านั้น และติดต่อผ่านคนสู่คนได้เท่านั้น  โดยผ่านเชื้อในสารคัดหลั่งต่าง ๆ  เช่น เลือด น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำนมแม่ หรือน้ำหล่อลื่นจากการร่วมเพศ ซึ่งจะมีปริมาณเชื้ออยู่ไม่เท่ากัน ซึ่งหากเราจะมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ จะต้องได้รับเชื้อจากสารคัดหลั่งเหล่านี้ ที่มีจำนวนเชื้อเอชไอวีในปริมาณที่มากพอ
  • ปริมาณ และคุณภาพของเชื้อเอชไอวี (Quality and Quantity) คือ จำนวนเชื้อเอชไอวีที่อยู่ในสารคัดหลั่งจะต้องมีปริมาณที่มากพอ และต้องมีคุณภาพเชื้อที่ดี หรือเชื้อเอชไอวีต้องยังมีชีวิตจึงจะสามารถทำการแพร่เชื้อตัวเองจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ เพราะถ้าเชื้ออยู่นอกร่างกาย หรือสภาพแวดล้อมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้เชื้ออยู่ไม่ได้ และตาย เช่น กรดในน้ำลาย กรดในกระเพาะอาหาร หรือสภาพอากาศร้อน แห้ง หรือในน้ำยาต่าง ๆ
  • ช่องทางการติดต่อ(Route of Transmission) คือ เชื้อเอชไอวีจะถูกผ่านส่งจากคนที่ติดเชื้อไปยังอีกคนหนึ่ง ได้หลายวิธีต่าง ๆ กัน โดยผ่าน เพศสัมพันธ์ การใช้เข้มฉีดยาร่วมกัน ผ่านเลือด และการติดต่อจากแม่สู่ลูก

คุณสามารถประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีได้ด้วยตนเอง หากไม่ครบทั้ง 4 องค์ประกอบ หรือ 3 ปัจจัยของการได้รับเชื้อเอชไอวีนี้ ก็ประเมินได้ว่าคุณไม่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี 

การรับเลือด (1 ยูนิต)

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยประมาณแบ่งตามชนิดและลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสเชื้อเอชไอวี  (ร้อยละ) 

  • การรับเลือด (1 ยูนิต)  ……………………………………………………..………………………….92.5 %
  • การแพร่เชื้อเอชไอวีจากมารดาติดเชื้อสู่ทารก…………………………………….13-45%
  • การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกับผู้ติดเชื้อ…………………………………..….0.67-0.80 %
  • เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้สัมผัสเป็นผ่ายรับ …………………………………….1-30%
  • เข็มที่มีเลือดติด ตำเข้าผิวหนัง………………………………………………………………………0.3%
  • เพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายรับ……………………………………….0.1%
  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางผิวหนังที่เป็นแผล……………………………….…..0.1%
  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางเยื่อบุ……………………………………………………….0.09%
  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีผ่านทางสารคัดหลังที่ไม่ใช่เลือด.……..น้อยกว่า 0.09%
  • เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายสอดใส่…………………….…….0.065%
  • เพศสัมพันธ์ทางปาก ผู้สัมผัสเป็นฝ่ายรับ………………………………………………..0.01%
  • เพศสัมพันธ์ทางปากผู้สัมผัสเป็นผ่ายสอดใส่……………………………………..0.005%
  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีจมากการถูกกัดหรือเป็นผู้กัด…………. ……………….0.004%
  • การสัมผัสเชื้อเอชไอวีของทารกจากการดื่มนมมารดาติดเชื้อ….0.001-0.00%

มีการประมาณว่าโอกาสถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดถึง 18 เท่า

ตรวจหาเชื้อเอชไอวี ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก