ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่เป็นที่รู้จักกันจะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) ที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว ราคาไม่แพง และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)  ที่ให้ผลได้แม่นยำกว่า แต่ต้องรอผลตรวจนานมากขึ้น  เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือมีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19  โดยการตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ด้วยวิธีจะใช้การเก็บสารคัดหลั่งที่โพรงจมูก  หรือลำคอด้วยการ Swab

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับตรวจหาเชื้อโรคโควิด

โรคโควิด -19 คืออะไร?

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  เป็นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์หนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยมุ่งทำลายปอดและมีอันตรายถึงชีวิต เหตุที่โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็ว ก็เพราะเซลล์ในเยื่อบุจมูกถูกไวรัสเกาะจับได้ง่าย และเมื่อจำนวนไวรัสในช่องจมูกและช่องปากแบ่งตัวมากขึ้น ก็ทำให้เกิดการแพร่กระจายผ่านละอองฝอยของน้ำลาย และน้ำมูกจากคนสู่คนได้ง่ายนั่นเอง 

สาเหตุโรคโควิด-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หรือ ไวรัสโควิด -19 เป็นโคโรนาไวรัสสายพันธุ์หนึ่ง เกิดจากการได้รับเชื้อจากละอองฝอยหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคโควิด-19 เช่น ละอองฝอยจากการไอ หรือจาม การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะ การสัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงการได้รับเชื้อไวรัสที่ล่องลอยอยู่ภายในอากาศด้วย

เมื่อได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ และความรุนแรงของอาการก็อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ติดเชื้อแต่ละบุคคล ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักพบอาการเหล่านี้ คือ ไอ เจ็บคอ เป็นไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย และหายใจหอบเหนื่อย

โดยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้มีการกลายพันธุ์เป็นหลากหลายสายพันธุ์และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concerns) หรือสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าเดิม สามารถหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ดีกว่าเดิม มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่

  • สายพันธุ์แอลฟ่า (B.1.1.7)
  • สายพันธุ์เบต้า (B.1.351)
  • สายพันธุ์แกมม่า (P.1)
  • สายพันธุ์เดลต้า (B.1.617.2)
  • สายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529)

อาการโรคโควิด-19

  • มีไข้สูง ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • มีอาการของระบบทางเดินหายใจ + อาการร่วมอื่น ๆ เช่น
    • จาม คัดจมูก มีน้ำมูก
    • แสบคอ เจ็บคอ
    • ไอ ทั้งแบบมีเสมหะ และไม่มีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ
    • บางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • อ่อนเพลีย
    • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
    • สูญเสียการรับรส หรือรับกลิ่น ทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส
ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากเชื้อโควิด

ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากเชื้อโควิด-19

  • สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน เมื่ออยู่ในที่ที่แออัด หรือมีอากาศปิด
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ อย่างน้อย 20 วินาที หรือเจลแอลกอฮอล์
  • เว้นระยะห่างทางกายกับผู้อื่น โดยเฉพาะจากผู้ที่มีอาการน่าสงสัย เช่น มีอาการไอ หรือจาม
  • ปิดปากและจมูกขณะมีการไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชูหรือข้อพับศอก
  • งดนำมือที่ไม่ได้ล้างแตะหรือสัมผัสบริเวณใบหน้า เช่น สัมผัสตา จมูก ปาก
  • รีบอาบน้ำสระผมเปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อกลับถึงบ้าน
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • สังเกตคนรอบตัวและระมัดระวังตัวเอง
  • หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ และไข้สูง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้

วิธีการตรวจเชื้อโควิด-19

ที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 วิธีหลัก ๆ ที่เราใช้กันตอนนี้ คือ Real time PCR , Antigen Test Kit หรือ Rapid Antigen Test และ Antibody Test Kit แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ความแม่นยำ และข้อจำกัดแต่ละแบบเป็นอย่างไร❔

RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction) ตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real-time RT PCR  เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ  โดยวิธีการทดสอบจะใช้เอนไซม์ Reverse Transcriptase เปลี่ยน RNA ของไวรัส SARS-CoV-2 ให้เป็น DNA จากนั้นทำการคัดลอกชิ้นส่วน DNA เพื่อเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสให้มีปริมาณมากพอที่จะตรวจวิเคราะห์ได้ จึงทำให้วิธีนี้สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสได้แม้จะปริมาณน้อยมาก

  • เก็บตัวอย่างโดยการเก็บป้ายสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางโพรงจมูก กระพุ้งแก้ม ในลำคอ ด้วยวิธี swab
  • สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อยๆ ได้
    มีความไว มีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) สูง
  • รู้ผลภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
    ใช้สิ่งส่งตรวจจากสารคัดหลั่งบริเวณ Nasopharyngeal และมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนจึง
Antigen Test Kit

Rapid Test คือ การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบที่มีความรวดเร็วในการตรวจวัด ราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR แต่จะมีความแม่นยำน้อยกว่า ชุดตรวจ Rapid test มี 2 ชนิด 

Antigen Test Kit หรือ Rapid Antigen Test คือ การตรวจหาเชื้อ covid-19 หรือองค์ประกอบไวรัสเก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้ม ลำคอ น้ำลาย ด้วยการ swab เป็นวิธีการตรวจที่ทราบผลได้รวดเร็ว ราคาชุดตรวจไม่แพงเกินไป สามารถหาซื้อได้ง่าย วิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก

  • โดยการใช้การอ่านสีบน Strip test รู้ผลตรวจได้ภายใน 30 นาที
  • แต่มีข้อแนะนำจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่าควรใช้กับผู้ที่สงสัยติดเชื้อแต่ยังไม่มีอาการ
    และหากได้รับเชื้อมาแล้วประมาณ 5 – 14 วัน ผลที่ได้จะมีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) น้อยกว่าวิธี RT-PCR
  • เหมาะสำหรับผู้มีความสงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด และต้องการตรวจหาเชื้อในเบื้องต้น
  • ตรวจก่อนเข้างาน
  • ตรวจก่อนเดินทางภายในประเทศ
  • เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยและสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 หากตรวจในตอนที่เพิ่งได้รับเชื้ออาจจะแสดงผลเป็นลบ เนื่องจากยังไม่มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะตรวจได้ หากเคยติดเชื้อหรือได้รับวัคซีนจนมีภูมิคุ้มกันที่สามารถทำลายเชื้อได้ก็อาจให้ผลการทดสอบเป็นลบเช่นกัน
  • เมื่อพบผลเป็นบวกต้องตรวจซ้ำด้วยวิธี Real time PCR เพื่อยืนยันการพบเชื้อ

Antibody Test Kit หรือ Rapid Antibody Test คือ เป็นชุดทดสอบที่ใช้ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี (Antibody หรือ ภูมิคุ้มกันเชื้อโควิค) ชนิด  IgG และ IgM Covid 19 โดยเก็บจากเลือด

  • ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถนำมาใช้ตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิค 19 ได้เนื่องจากภูมิต้านทานที่เจออาจมาจากการได้รับวัคซีน
  • สามารถทราบผลได้ใน 15 นาที 
  • ดังนั้นการใช้ Rapid Test ตรวจภูมิคุ้มกันในช่วงแรกของการรับเชื้อ หรือช่วงแรกที่มีอาการ  หรือหากตรวจในช่วง 1-5 วัน ผลการตรวจจะขึ้นลบ ซึ่งไม่ได้แสดงว่าผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังไม่เกิดขึ้น
  • เหมาะกับการตรวจหลังจากได้รับเชื้อ หรือมีอาการ อาการป่วย 5-7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน เนื่องจากเป็นระยะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต้านเชื้อโรคแล้ว 

การรักษาโรคโควิด-19 

ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันกับผู้ป่วย และสามารถลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น 

  • ยา Favipiravir เป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คุณสมบัติยับยั้งการจำลองสารพันธุกรรมของไวรัส 
  • ยาต้านไวรัสเอชไอวี (Darunavir, Lopinavir, Ritonavir) 
  • ยาในกลุ่ม Corticosteroid (Dexamethasone, Hydrocortisone, Prednisolone, Methylprednisolone) 
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย (Hydroxychloroquine, Chloroquine) 
  • ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Azithromycin)

ตรวจหาเชื้อโรคโควิด – 19 ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก