การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจที่ช่วยให้เรารู้ทันสภาพร่างกายของเรา หากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ๆ ทำให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ ไม่ปล่อยให้โรคลุกลาม ทุกคนควรได้รับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นขั้นตอนหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ช่วยในการวินิจฉัยโรค เพื่อดูสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย ค้นหาความผิดปกติก่อนที่จะลุกลาม เรื้อรังจนแสดงอาการ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

โดยมีการสอบถามประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วย เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน ในอดีตและประวัติของคนในครอบครัว ประวัติประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการมีบุตร และประวัติการใช้ยาต่างๆ รวมถึงประวัติการแพ้ยา แพ้อาหารหรือแพ้สิ่งอื่นๆ ซึ่งผลที่ได้จากการตรวจร่างกาย แพทย์จะบันทึกไว้ในเวชระเบียนเสมอ เพราะนอกจากเป็นข้อมูลสำคัญของผู้ป่วยในการช่วยวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยในการคัดแยกโรคต่างๆด้วย นอกจากนั้น ยังใช้ช่วยประเมินวิธีรักษา ช่วยติดตามผลการรักษา และประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และลดปัญหาที่จะนำไปสู่การสูญเสียทั้งทางด้านสุขอนามัย และทางด้านการเงิน

การตรวจสุขภาพมีความสำคัญอย่างไร

การตรวจสุขภาพคืออะไร ?

การตรวจสุขภาพ คือ พื้นฐานการดูแลคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นานๆ แต่หลายคนกลับยังไม่เข้าใจว่า เราต้องตรวจอะไร ตรวจเมื่อไหร่ ตรวจแล้วดีอย่างไร ซึ่งการตรวจสุขภาพทั่ว ๆ ไปในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ เพื่อตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการออกมา หรือตรวจเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงมีประโยชน์ทั้งกับผู้ที่เข้ารับการตรวจ เพราะช่วยให้รับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที 

เนื่องจากเรื่องของสุขภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเราเอง แต่ยังโยง หรือส่งผลกระทบไปถึงคนรอบตัวเรา เช่น คนรัก พ่อแม่ ลูก รวมไปถึงหน้าที่การงาน ดังนั้นการตรวจสุขภาพ จึงเสมือนการรับผิดชอบต่อตัวเองเพื่อไม่ให้คนรอบข้างต้องกังวล 

การตรวจสุขภาพมีความสำคัญอย่างไร?

ปัจจุบันการตรวจสุขภาพมีความสำคัญ  เนื่องจากบางโรคระยะเริ่มต้นไม่มีอาการแสดงให้ทราบ  การตรวจพบปัญหาในระยะแรกเริ่มจะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพที่ดีกว่า โดยความสำคัญของการตรวจสุขภาพ มีดังนี้

  • ตรวจคัดกรองเบื้องต้น ตามปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล โดยตรวจหาโรคแฝงที่เราเสี่ยงที่จะเป็น อาจด้วยพันธุกรรม หรือโรคที่พบบ่อย เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งในระยะแรกอย่าง มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  • ตรวจหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน เป็นต้น 
  • เพื่อป้องกัน หรือค้นหาโรคและภาวะผิดปกติในร่างกาย ซึ่งโรคบางโรค สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนแสดงอาการ
  • เป็นจุดเริ่มต้นการต่อสู้กับโรคร้ายที่ดีที่สุด ด้วยการช่วยให้เราสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทั้งยังช่วยให้เราวางแผนในการดูแลตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
  •  ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิตเราได้เป็นอย่างดี

ทำไมต้องตรวจสุขภาพให้เป็นประจำ

การดูแลและรักษาสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับทุกคน เนื่องจากร่างกายและอวัยวะต่างๆของเราทำงานอยู่ตลอดเวลา และเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพหรือบกพร่องไปแต่เราก็สามารถดูแลและตรวจสอบสภาพร่างกายของเราได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายเราตั้งแต่ ในระยะแรกๆ ซึ่งยังไม่มีอาการ อันได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถรักษาโรคต่างๆได้ทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา

เพราะทุกวันนี้ปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราทีละน้อยโดยที่เราไม่รู้เช่น 

  • มลภาวะฝุ่น PM 2.5  ควันพิษจากท่อไอเสีย 
  • สารเคมี และสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในผักและผลไม้  
  • โรคระบาด เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคโควิด-19 (Covid-19) 
  • ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในตัวบุคคลเอง เช่น โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม 
  • พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น การออกกำลังกายน้อยลง ทานอาหารเก่งขึ้น สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มีความเครียดสะสมมากขึ้น พักผ่อนน้อย  
  • โรคร้ายหลายโรคมักแสดงอาการเมื่อมีการแพร่กระจายในร่างกายเข้าขั้นรุนแรงแล้ว เช่น โรคมะเร็งตามอวัยวะต่าง ๆ ที่มักปรากฏอาการเมื่อเข้าสู่ช่วงแพร่เชื้อมะเร็งจนอวัยวะเกิดความเสียหายไปแล้ว
  • การติดเชื้อ HIV ที่มีอาการให้สังเกตได้น้อยมาก และเชื้อ HIV เองก็สามารถหลบซ่อนอยู่ในร่างกายเราได้หลายปีก่อนจะเข้าสู่ภาวะของโรคเอดส์ในที่สุด 

ดังนั้น การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพ คือ การป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี ที่จะสามารถทำให้พบเจอสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ก่อนที่จะลุกลามจนยากเกินรักษา

การตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นมีอะไรบ้าง ?

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถตรวจเบื้องต้นได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิงของกลุ่มคนวัยทำงานขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ

  • การตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายพื้นฐาน โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงประวัติอาการต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการแพ้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย และการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถแยกโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น
  • Complete Blood Count (CBC) การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด  การประเมินความเข้มข้นของเลือด เพื่อบอกถึงสภาวะผิดปกติ ดังนี้
    • การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดง ดูรูปร่าง และขนาดของเม็ดเลือดแดง เพื่อบ่งชี้ภาวะโลหิตจาง  
    • การตรวจนับปริมาณ และชนิดของเม็ดเลือดขาว เพื่อดูภาวะการติดเชื้อ และความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นสัญญาณนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
    • การตรวจนับปริมาณเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่หยุดการไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
  • Fasting Blood Sugar (FBS) คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หลังงดอาหาร เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมHemoglobin A1c (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ด้วย การตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ในช่วง 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา โดยการวัดปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย และไปจับกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน และประเมินการควบคุมน้ำตาลหลังการรักษาของผู้เป็นเบาหวาน
  • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด หรือ Total cholesterol   เพื่อตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงไขมันชนิดดีและไม่ดี เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ด้วย การตรวจวัดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวม  ไม่สามารถแปลผลได้โดยตรง เพราะระดับคอเลสเตอรอลรวมสูง อาจเกิดจากระดับไขมันชนิดไม่ดีสูง หรือชนิดดีสูงก็ได้ คอเลสเตอรอลในอาหารพบมากในไข่แดง อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง สามารถแยกตรวจได้ดังนี้
    • LDL-cholesterol คือ ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เป็นไขมันที่ไปเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดแข็ง และตีบได้ ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
    • HDL-cholesterol คือ ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ช่วยลดการสะสมของไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด โดย HDL ทำหน้าที่นำเอาคอเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆ ไปทำลายที่ตับ และขับออกจากร่างกาย HDLจึงมีบทบาทในการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
    • Triglyceride คือ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำหน้าที่สะสมพลังงานจากอาหารที่เราทานเข้าไป หากมีปริมาณมากเกินไปจะสะสมในร่างกาย และเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดแข็ง นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง สาเหตุที่ทำให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง มาจากการรับประทานประเภทแป้ง และน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย
  • High sensitivity C-Reactive Protein (hs-CRP) คือ การตรวจหาระดับโปรตีน CRP แบบที่มีความไวสูง ตรวจพบได้แม้จะมีปริมาณ CRP ต่ำ โดย CRP เกิดจากกลไกการอักเสบระดับเซลล์ในร่างกาย จึงถูกนำมาใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่  Uric acid คือ การตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเกาท์ นิ่วทางเดินปัสสาวะ โดยสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้น เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม การบริโภคอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักบางชนิด เช่น เห็ดต่างๆ ยอดผัก และแอลกอฮอล์
  • การตรวจวัดระดับกรดยูริก เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์
  • การตรวจวัดการทำงานของไต โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าครีเอตินิน ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า Blood Urea Nitrogen (BUN)  คือ การตรวจวัดระดับปริมาณของเสียในร่างกาย กรณีที่ร่างกายปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากการทำงานของไตผิดปกติ ก็จะเกิดการตกค้างของเสียเหล่านี้ในร่างกาย ทำให้ค่า BUN สูง ซึ่งบ่งบอกถึงการทำงานของไตที่ผิดปกติ
  • Creatinine (Cr) คือ การวัดระดับค่าของครีเอตินิน ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ และขับออกจากร่างกายทางไต หากค่านี้สูงโดยที่ไม่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ก็หมายถึงการทำงานของไตผิดปกติ
การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน
  • การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น ได้แก่ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงการตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร รวมไปถึงโรคมะเร็งทางเดินอาหาร
  • ตรวจการทำงานของตับ (Alanine aminotransferase : ALT) คือ การตรวจค่าเอนไซม์ ALT ในร่างกาย หากมีการทำลาย หรือการอักเสบของตับ จะมีการหลั่งเอนไซม์นี้ออกจากตับสู่กระแสเลือดมากขึ้น โดย ALT พบได้มากในตับ และไต พบได้น้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ และตับอ่อน
  • ตรวจการทำงานของตับ (Aspartate aminotransferase : AST) คือ การตรวจค่าเอนไซม์ AST ในร่างกาย โดย AST พบได้ในตับ ไต และเนื้อเยื่ออื่นๆ ค่า AST สูงพบได้ในโรคหัวใจ โรคตับอักเสบจากการดื่มสุรา การออกกำลังกายมากเกินไป
  • Alkaline Phosphatase (ALP) เป็นเอนไซม์ที่พบได้มากในตับ ทางเดินน้ำดี กระดูก ลำไส้เล็ก หากอวัยวะเหล่านี้ผิดปกติ หรือมีโรคใดๆ ที่กระทบ ย่อมส่งผลให้ค่า ALP สูงได้
  • การตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบ เอ, บี, ซี (Viral hepatitis profile)  ไวรัสตับอักเสบบีสามารถตรวจคัดกรองจากการติดเชื้อเบื้องต้นได้จากส่วนประกอบของเชื้อ HBsAg และการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HBsAb ส่วนไวรัสตับอักเสบซี สามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้จาก Anti-HCV  ซึ่งลดความเสี่ยงต่อการอักเสบของตับเรื้อรัง ที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งตับในอนาคต
  • การตรวจวัดการทำงานของตับ เป็นการตรวจเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน โดยการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่าง ๆ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของตับ และทางเดินน้ำดี
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยตรวจวัดจากระดับฮอร์โมนในเลือด เพื่อตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าทำงานได้อย่างปกติหรือไม่
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง อาทิ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายทุกช่วงวัย
  • การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจเพื่อช่วยประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติในทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรค และโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในปอด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิง และต่อมลูกหมากในผู้ชาย
  • การตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันของลูกตา เป็นการตรวจสุขภาพตาทั่วไป และค้นหาความเสี่ยงของภาวะต้อ

การตรวจสุขภาพประจำปีต้องตรวจกี่ครั้ง ?

สำหรับการตรวจสุขภาพต้องตรวจอะไรบ้าง หรือความถี่ในการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม ประวัติครอบครัว และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยปกติโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นจะแบ่งตามเพศ และอายุ โดยแพทย์แนะนำให้ตรวจทุก 1 ปี และสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจที่บ่อยขึ้น

การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จึงมีความจำเป็น และความสำคัญ เพราะจะทำให้ได้รู้ว่าร่างกายของตัวเองมีโรคใดที่ซ่อนอยู่หรือไม่ หากตรวจพบความผิดปกติจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้การตรวจสุขภาพยังจะได้   คำแนะนำของการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลอีกด้วย

การตรวจสุขภาพ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก