เลือด เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ร่างกายมนุษย์ใช้ในการสร้างเม็ดโลหิต คือไขกระดูก ในร่างกายของคนเรามีโลหิตมากน้อยตามน้ำหนักของแต่ละคน 

หน้าที่สำคัญของเลือด คือขนส่งก๊าซออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อมายังปอด เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไป นอกจากนี้เลือดยังทำหน้าที่ขนส่งสารต่าง ๆ เช่น กรดอะมิโน ฮอร์โมน วิตามินไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำของเสียต่าง ๆ จากเซลล์ไปขับออกจากร่างกาย เช่น นำยูเรียไปขับออกที่ไต เป็นต้น

Table of Contents

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่ออะไร

เลือดประกอบด้วยองค์ประกอบ

1. น้ำเลือด  (plasma) เป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน  มีน้ำและสารหลายชนิดปนอยู่  เช่น  สารอาหาร  เอนไซม์  ฮอร์โมน  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  แก๊สออกซิเจนและของเสียต่าง ๆ  เป็นต้น

2. เซลล์เม็ดเลือดแดง  (red blood cells; erythrocytes)  เซลล์เม็ดเลือดแดงคล้ายกับเป็นส่วนประกอบที่เรารู้จักดีที่สุด  เพราะเวลาเกิดบาดแผลจะมีเลือดสีแดงไหลออกมาเป็นสีแดงนั่นเอง  เซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างจากไขกระดูกของคนเราครับ  ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมี ฮีโมโกลบิน (Haemoglobin)  ซึ่งเป็นโปรตีน  มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ  ซึ่งเฮโมโกลบินจะจับแก๊สออกซิเจนได้และลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

3. เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cells; leukocytes) สร้างที่ไขกระดูกและม้าม  เซลล์เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด  บางชนิดทำหน้าที่จับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย  เซลล์เม็ดเลือดขาวนับว่าเป็นกุญแจที่สำคัญของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย  คือจะสร้างแอนติโบดี (Antibody) ซึ่งที่ทำหน้าที่เป็นภูมิกันต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย  เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรค  ร่างกายจะสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมากขึ้น  เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อครับ

4. เกล็ดเลือด  (platelets)  เป็นชิ้นส่วนของเซลล์  ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด  ทำให้เลือดหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผลแก่ร่างกายหน้าที่ของเลือด เลือดมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก  มีหน้าที่สำคัญ ๆ  เช่นกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงจะจับแก๊สออกซิเจนไปให้เซลล์ในเนื้อเยื่อต่าง ๆทั่วร่างกายช่วยป้องกันการติดเชื้อ  เช่น  เชื้อโรคต่าง ๆลำเลียงกลูโคสไปยังเซลล์ต่าง ๆ เพื่อสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายช่วยให้เลือดแข็งตัวเวลาเกิดบาดแผลช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายช่วยลำเลียงอาหารจากระบบย่อยอาหารและฮอร์โมนจากต่อมต่าง ๆ ไปทั่วร่างกาย

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

คือ ความสมบูรณ์หรือประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ฮีโมโกลบิน ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น ไปจนถึงภาพรวมของระบบการไหลเวียนโลหิตการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และอาจรวมถึงการตรวจค่าฮอร์โมนหรือสารที่ถูกสร้างจากร่างกาย และสารอื่นๆ ในเลือดของคุณร่วมด้วยในบางกรณี

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เป็นศาสตร์ในการคาดการณ์เกี่ยวกับสุขภาพของคุณโดยรวม หากคุณเป็นผู้ที่ต้องการวางแผนในการใช้ชีวิต และต้องการมีสุขภาพดีไปจนถึงวัยเกษียณ คุณจำเป็นต้องรู้ในข้อมูลสุขภาพพื้นฐานของคุณอย่างเช่นการตรวจประเมินความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดโดยผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจนั้นสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับสุขภาพของคุณโดยรวม และความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด เพื่อที่จะได้รายงานผลอย่างถูกต้อง 

คุณจะได้รู้ทันท่วงทีที่ป้องกันหรือฟื้นฟูโรคความเสื่อมภายในร่างกาย (Degenerative Disease) ระยะแรกๆ ที่กำลังจะพัฒนาไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคภูมิแพ้ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่างๆ เป็นต้น ที่ท้ายสุดแล้วก็จะก่อให้โรคร้ายแรงต่อคุณตามมา โดยทั่วไปการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) จะมีรายละเอียดการตรวจดังต่อไปนี้

ทำไมถึงต้องตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ?

การตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด เป็นหนึ่งในค่าแลปที่บุคคลากรทางการแพทย์ใช้วิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากสภาวะบางอย่างเช่น โลหิตจาง การติดเชื้อ การอักเสบ เลือดออกผิดปกติ หรือมะเร็ง มีผลต่อจำนวนของเม็ดเลือด การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจึงบ่งบอกถึงความผิดปกตินั้นๆได้

เมื่อไหร่ถึงควรตรวจเม็ดเลือด ? 

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะทำเมื่อ 

  • ผู้ป่วยมีอาการ หรืออาการแสดงที่น่าจะส่งผลต่อเม็ดเลือด 
  • เป็นการตรวจติดตามการรักษา หรือการดำเนินไปของโรค 
  • ตรวจเพื่อความปลอดภัยเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษา หรือยาที่คาดว่าจะส่งผลต่อเม็ดเลือด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจ CBC จะมีตรวจเกี่ยวประเภทและจำนวนเซลล์ในเลือด ซึ่งจะตรวจส่วนประกอบต่างๆที่อยู่ในเลือด ดังนี้

เซลล์เม็ดเลือดแดง

เซลล์เม็ดเลือดแดง  (Red Blood Cell: TRBC) 

ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมทั้งลำเลียงคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปที่ปอดด้วย จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงจะแสดงผลว่าผู้ป่วยประสบภาวะโลหิตจางหรือไม่ รวมทั้งแสดงการสร้างและทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง เช่น ค่าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากเลือดที่ไหลเวียนจากหัวใจลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดไม่เพียงพอ หรือมีการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น 

ส่วนค่าที่ลดลงเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 บี 6 หรือธาตุเหล็ก รวมทั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือการสร้างจากไขกระดูกผิดปกติ นอกจากนี้ แพทย์จะดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพื่อวินิจฉัยแยกโรคต่าง ๆ เช่น ธาลัสซีเมีย หรือภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก บางครั้งอาจปรากฏมาลาเรียอยู่ในเม็ดเลือดด้วย

ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit: Hct) / Packed Cell Volume (PCV) หรือ Erythrocyte Volume Fraction (EVF)

มีความสำคัญเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวัดจำนวนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในตัวอย่างเลือด หรือปริมาณความเข้มข้นหรือหนาแน่นของปริมาตรเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่ในน้ำเลือดขณะนั้น เมื่อระดับเม็ดเลือดแดงต่ำ (โรคโลหิตจาง) พบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบหรือไขกระดูกทำงานผิดปกติก็ได้ ภาวะขาดน้ำในร่างกาย หรือโรคเลือดข้นจากการขาดออกซิเจนเรื้อรัง

ตรวจวัดขนาดเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Volume: MCV)

มีความสำคัญบ่งชี้ถึงปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรลดลง ได้แก่ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคโลหิตจางธัลลัสซีเมีย และภาวะเม็ดเลือดแดงมีปริมาตรสูงขึ้นที่เกิดจาก ภาวะขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลท

ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (Mean Corpuscular Hemoglobin: MCH)

มีความสำคัญบ่งชี้ถึงปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดง ทำให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมีสาเหตุที่สัมพันธ์กัน

ตรวจความซีดจางเม็ดเลือดแดง (Mean Cell Hemoglobin Concentration: MCHC)

มีความสำคัญบ่งชี้ถึงความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ค่าที่ต่ำลงสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ต่ำลง จึงมีสาเหตุงสัมพันธ์กัน ส่วนค่าที่สูงขึ้นพบได้เมื่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดง เช่น ภาวะที่เม็ดเลือดแดงเสียรูปโดนัทกลายเป็นลักษณะกลมแทน เช่น ภาวะโลหิตาจางจากภูมิต้านทานตนเอง

เซลล์เม็ดเลือดขาว

เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell: TWBC) 

ทำหน้าที่ต้านเชื้อโรค โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวจะทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่มีจำนวนน้อยกว่า เมื่อร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวยังใช้ตรวจหาการติดเชื้อ และปฏิกิริยาร่างกายที่ตอบสนองต่อการรักษามะเร็ง และระดับที่ลดลงอาจบ่งบอกถึงภูมิคุ้มกันที่ลดลง

การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC) เพื่อประเมินสภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือมีอาการแพ้ อาการแพ้ ติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต

ค่าฮีมาโตคริต (Hematocrit)

คือสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อัดแน่นเทียบกับปริมาตรของเลือดทั้งหมด ค่านี้จะแสดงภาวะโลหิตจางหรือความข้นของเลือด โดยผู้ที่ประสบภาวะช็อค ขาดน้ำอย่างรุนแรง หรือมีจำนวนเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น จะมีค่าฮีมาโตคริตสูง ส่วนผู้ที่ประสบภาวะโลหิตจาง ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือด หรือมีเลือดออกรุนแรง จะมีค่าฮีมาโตคริตต่ำ

ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hgb)

คือโปรตีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดง การตรวจฮีโมโกลบินจะช่วยวัดจำนวนฮีโมโกลบินที่มีในเลือด รวมทั้งวัดประสิทธิภาพของร่างกายในการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ผู้ที่มีค่าฮีโมโกลบินลดลง อาจเกิดจากการเสียเลือด ขาดสารอาหาร หรือภาวะโลหิตจาง

เกล็ดเลือด (Platelet)

คือเซลล์เลือดชนิดหนึ่งที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด กล่าวคือ หากร่างกายได้รับบาดเจ็บจนเลือดออก เกล็ดเลือดจะพองและจับตัวกันจนมีลักษณะเหนียว เพื่อช่วยหยุดเลือดที่ไหลออกมา ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำเกินไปจะห้ามเลือดให้หยุดไหลไม่ได้ ส่วนผู้ที่มีเกล็ดเลือดสูงเกินไปจะเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด และมีความสำคัญเพื่อประเมินการป้องกันไม่ให้ร่างกายมีเลือดออกและช้ำง่าย

ตรวจเลือดก่อนการผ่าตัด

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่ออะไร ?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดนับเป็นการตรวจเลือดทั่วไป มักใช้ตรวจหาภาวะสุขภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ตรวจสุขภาพโดยรวม ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นประจำ เพื่อดูสุขภาพโดยรวม รวมทั้งตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia), โรคโลหิตจาง (Anemia), สภาวะเลือดหยุดไหลยากเมื่อเกิดบาดแผล ฯลฯ
  • วินิจฉัยปัญหาสุขภาพ ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า มีไข้ บวมอักเสบ มีรอยช้ำ หรือเลือดออก อาจต้องเข้ารับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โดยวิธีนี้จะช่วยวินิจฉัยสาเหตุของอาการดังกล่าว ทั้งนี้ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดยังยืนยันผลการติดเชื้อในกรณีที่คาดว่าผู้ป่วยรายนั้นได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย
  • สังเกตและติดตามปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือด จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจนี้ เพื่อสังเกตและติดตามอาการป่วยที่เกิดขึ้น
  • สังเกตและติดตามการรักษาโรค แพทย์จะทำการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วยที่ใช้ยาซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือด
  • ตรวจการตอบสนองของร่างกายต่อการรักษาบางอย่าง ผู้ป่วยบางรายที่เข้ารับการรักษาด้วยยาหรือการฉายรังสี จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อการรักษาดังกล่าว
  • ตรวจประเมินร่างกายก่อนผ่าตัด ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อดูระดับของเลือดว่าสูงหรือต่ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด และในปริมาณของเกล็ดเลือดเพื่อให้มั่นใจว่าเลือดจะหยุดไหลเมื่อเกิดบาดแผลจากการผ่าตัด รวมทั้งเพื่อให้มั่นใจปริมาณหรือระดับของเม็ดเลือดขาวว่าจะช่วยฆ่าทำลายล้างจุลชีพก่อโรคใด ๆ ที่อาจล่วงล้ำเข้าสู่ร่างกายในขณะที่ร่างกายยังกำลังอ่อนแอหลังการผ่าตัดได้
  • ตรวจเพื่อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ เช่น การตรวจเพื่อยืนยันผลการติดเชื้อในกรณีที่คาดว่าผู้ป่วยรายนั้นได้รับเชื้อบางอย่างเข้าสู่ร่างกาย หรือตรวจเพื่อบ่งชี้สภาวะการอักเสบใด ๆ ทั่วทั้งร่างกาย
  • เป็นการตรวจเพื่อวิเคราะห์การตอบสนองของร่างกายต่อการรักษาบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดจะเป็นการตรวจเพื่อดูว่าการรักษามีผลต่อการทำให้ไขกระดูก (Bone marrow) ผลิตเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ออกมาน้อยหรือมากกว่าปกติหรือไม่
  • ใช้ตรวจความผิดปกติหรือความบกพร่องใดๆซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปร่าง ขนาด และจำนวนของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งความผิดปกติหรือความบกพร่องเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งติดตัวมาจากกรรมพันธุ์ ก็เพียงพอต่อการก่ออาการของโรคที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) การตรวจหา CBC ย่อมทำให้ทราบก่อนวิธีอื่น
  • ใช้ตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดเลือดในกรณีที่ได้รับสารกัมมันตรังสี หรือสารประกอบปิโตรเลียม ซึ่งส่งผลต่อเซลล์เม็ดเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว
  • ใช้ติดตามการรักษาในกรณีร่างกายได้รับยา เช่น เคมีบำบัด (chemotherapy) เพื่อรักษาโรคมะเร็งย่อมมีผลอาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (lymphocytes) ลดจำนวนลงต่ำกว่าระดับปกติก็ได้
  • เพื่อสรุปว่าเซลล์เม็ดเลือดอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความปกติของร่างกายได้ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม แม้สภาวะโดยทั่วไปของเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิดดี แต่หากมีสารชีวเคมีที่ปะปนมาในเลือดซึ่งไม่อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็อาจบ่งชี้ว่าเจ้าของร่างกายกำลังเริ่มมีสุขภาพย่ำแย่ก็ได้

การตรวจค่าความสมบูรณ์ของเลือด ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก