โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่ติดเชื้อ และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งจากการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นนิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง

ผู้ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะไม่ค่อยแสดงอาการ และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทำให้เชื้อโรคติดต่อผ่านกันได้ง่าย ปัญหาหลักของโรคเหล่านี้ คือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาทราบว่าตนเองมีความผิดปกติเมื่อเวลาผ่านไปนาน บางรายก็ไม่สนใจต่ออาการเหล่านั้น หรืออายที่จะเข้ารับการรักษา จึงทำให้โรคนั้นรุนแรงลุกลามเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ทันเวลา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คืออะไร?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmitted diseases : STDs) คือ  โรคที่มีการติดต่อระหว่างผู้มีเชื้อกับผู้รับเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ทางอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก ทางปาก รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ เช่น อสุจิ เลือด น้ำในช่องคลอด และของเหลวในร่างกายอื่นๆ และยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ผ่านจากการให้เลือดหรือถ่ายโอนเลือด หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ติดสิ่งเสพย์ติดอีกด้วย

สาเหตุโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

แบ่งประเภทของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ดังนี้

เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดรักษาหาย บางชนิดไม่มียารักษา บางชนิดจะแฝงตัวและเป็นซ้ำได้อีก เช่น โรคเอดส์  โรคเริม โรคหูดหงอนไก่ โรคหูดข้าวสุก และไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ

  • โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อ HIV ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรคทำให้ติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้ง่าย และทำให้ถึงแก่ชีวิต
  • โรคเริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes Simplex Virus  สามารถพบได้ในหลายตำแหน่ง เช่น ที่ริมฝีปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศ เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคเชื้อไวรัสแล้วเข้าสู่ผิวหนัง
  • โรคหูดหงอนไก่ เกิดจากเชื้อที่เรียกว่า Human Papilloma Virus หรือ HPV ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัส อาการที่พบคือมีติ่งเนื้อนูนคล้ายดอกกะหล่ำ อาจมีอาการคัน และเจ็บหรือมีเลือดออก ทั้งนี้มีโอกาสเป็นซ้ำได้บ่อย
  • โรคหูดข้าวสุก เกิดจากเชื้อไวรัส Molluscum Contagiosum Virus (MCV) โดยอาการที่พบ คือ มีผิวเรียบ แต่ละตุ่มมีรูตรงกลาง ซึ่งเมื่อสุกดีจะบีบของเหลวข้นๆ ออกจากรูได้คล้ายข้าวสุก ในบางรายติ่งเนื้อ หรือตุ่มมีขนาดเล็ก 
  • ไวรัสตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Hepatitis B Virus การติดต่อผ่านทางของเหลวที่ออกมาจากร่างกาย เช่น สารคัดหลั่ง เลือด น้ำเชื้อ น้ำเหลือง เป็นต้น  มีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรืออ่อนแรงและปวดตามข้อ ตาเหลือง และตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม เป็นต้น

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม โรคแผลริมอ่อนฯลฯ

  • โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum  ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์และจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งเชื้ออาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของร่างกาย ผู้ติดเชื้อจะอาการแตกต่างกันตามระยะของโรค เช่น มีแผลที่อวัยวะเพศ มีผื่นขึ้นตามตัว มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือไม่มีอาการใด ๆ
  • โรคหนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae อาการหนองในระหว่างผู้หญิงและผู้ชายจะต่างกันออกไป โดยในผู้ชายจะมีปัสสาวะแสบขัดมีหนองไหลจากท่อปัสสาวะ สำหรับในผู้หญิงมักไม่มีอาการหรือมีเพียงตกขาวผิดปกติ ไม่คัน แต่สิ่งทีเหมือนกันอย่างแรกคือเชื้อจะเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 1 สัปดาห์ ทั้งนี้บางรายอาจไม่ได้มีอาการอะไรเล
  • โรคหนองในเทียม เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia Trachomatis  อาการของหนองในเทียม ในช่วงแรกอาจจะยังไม่แสดงอาการให้พบเห็น หลังได้รับเชื้อแล้วในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ อาการมีอาการแสบร้อน รู้สึกเจ็บ ปัสสาวะแสบขัด ขณะปัสสาวะ มีของเหลวขาวหรือลักษณะหนองไหลออกจากปลายอวัยวะเพศ หรือมีตกขาวมากกว่าปกติ ตกขาวเป็นมูกปนหนอง มีกลิ่นเหม็น
  • โรคแผลริมอ่อน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi จะทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณอวัยวะเพศ มีอาการเปื่อย

เกิดจากเชื้ออื่นๆ เช่น พยาธิ สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ

ได้แก่ เชื้อรา เช่น เชื้อราในช่องคลอด เป็นต้น เชื้อปรสิต เช่น โลน หิด พยาธิในช่องคลอด เป็นต้น

สาเหตุโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  • คุณมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • คุณหรือคู่นอนของคุณมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
  • คุณมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • คุณใช้เข็ม หลอดฉีดยา และช้อนในการฉีดสารเสพติดร่วมกับผู้อื่น
  •  คนที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือหญิงบริการ หรือ คู่นอนชั่วครั้งชั่วคราวหลายคน

อาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของโรค ซึ่งอาการต่างๆ อาจเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศอย่างเดียว หรืออวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ทั้งหมด  โดยเราสามารถสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • มีตกขาวผิดปกติ หรือตกขาวเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ
  • ตกขาวมีกลิ่น มีอาการคัน หรือระคายเคือง
  • มีตุ่ม มีผื่น หรือแผล บริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณทวารหนัก
  • อาจมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนอง ไหลออกมาจากปลายอวัยวะเพศชาย
  • อวัยวะเพศหญิงมีเลือดไหลผิดปกติ
  • เจ็บหรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บแสบ หรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ขาหนีบบวม
  • ปวดท้องน้อย
  • มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • มีอาการระคายเคืองที่อวัยวะเพศ
  • เชื้อบางชนิด อาจไม่แสดงอาการในระยะแรก หรือบางระยะโรค เช่น หูดหงอนไก่ชนิดที่ก่อมะเร็งปากมกลูก (High risk group HPV),เริม,เอดส์,ซิฟิลิสบางระยะ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรค

ควรพบแพทย์ เพื่อปรึกษาตรวจร่างกาย หรือตรวจภายในสตรี เพื่อค้นหาโรค เช่น ตุ่มเริม,หูดหงอนไก่,เชื้อรา แพทย์จะนำตกขาว หรือสิ่งคัดหลั่งในช่องคลอด และปากมดลูก ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจหาเชื้อรา,เชื้อพยาธิในช่องคลอด(Wet Smear หรือ เชื้อหนองในแท้,หนองในเทียม) โดยการตรวจ PCR หรืออาจทำการตรวจเลือด เพื่อหาปฏิกิริยาต่อเชื้อนั้นๆ เช่น ซิฟิลิส หรือเอดส์ (HIV)เป็นต้น สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย 

ซึ่งการรักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายได้ง่ายกว่า ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำได้โดยดูแลอาการไม่ให้กำเริบได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด โดยวิธีการรักษามีดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ใช้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต ได้แก่ หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส และเชื้อทริโคโมแนส (Trichomoniasis) การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะต้องได้รับการรักษาจนครบกำหนด นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติ
  • ยาต้านไวรัส (Antivirus) ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเริม โดยควรรับยาต้านไวรัสร่วมกับการดูแลสุขภาพ แต่เชื้อจะยังหลงเหลืออยู่ในร่างกาย เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอ อาจจะกลับมาแสดงอาการอีกครั้ง และผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้แม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่ำก็ตาม ทั้งนี้ การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง จะช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสให้น้อยลงจนตรวจหาแทบไม่พบ นอกจากนี้ ยาต้านไวรัสยังใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์          

  • สวมถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีและทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • การมีคู่นอนคนเดียว ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เสี่ยงโรค
  • รักษาความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ                                          
  • ตรวจโรคเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน        
  • การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี สำหรับคนที่มีอายุ 9-45 ปี
  • ศึกษาเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าติดต่อโรค

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก