โรคไข้เลือดออกเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว แต่ก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจำนวนมาก และถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้ และวัคซีนเองก็ยังไม่สามารถฉีดได้กับทุกคน

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่แพร่ระบาดในฤดูฝนพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายที่มีเชื้อไวรัสกัดคน จะถ่ายทอดเชื้อให้คนทำให้เกิดอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการช็อค ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลาอาจเสียชีวิตได้ โดยมีอาการเลือดออกตามมา

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก คืออะไร?

โรคไข้เลือดออก (Dengue Hemorrhagic Fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี  โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการของโรคไข้เลือดออกมีตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติ และอาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุโรคไข้เลือดออก

เกิดจากการติดเชื้อ ไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมี 4 ชนิดคือ เดงกี่-1 (DENV-1), เดงกี่-2 (DENV-2), เดงกี่-3 (DENV-3) และเดงกี่-4 (DENV-4) โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุงโดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกตามมา

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรก ก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก

ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไปในแต่ละปี ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ

อาการโรคไข้เลือดออก

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคไข้เลือดออก มีเพียงรักษาตามอาการเท่านั้น ดังนั้นการป้องกัน กําจัดลูกนํ้า ภาชนะใส่นํ้าภายในบ้านควรปิดฝาให้มิดชิด  และอีกวิธีหนึ่งคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

 สังเกตอาการของโรคไข้เลือดออกได้ ดังนี้

  • มีไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว
  • อ่อนเพลีย ซึมลง
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เบื่ออาหาร อาเจียน
  • อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง
  • อุจจาระมีสีดำ

โรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น  3 ระยะได้แก่ 

ระยะไข้ 

  • อาการไข้สูงลอยประมาณ 39 – 40°C นาน 2-7 วัน 
  • มักมีหน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระดูก 
  • คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง 
  • อาจมีภาวะเลือดออกร่วมด้วย 
  • โดยอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่ จะไม่ปรากฏพร้อมๆ กัน จึงต้องเฝ้าติดตามเป็นระยะๆ 

ระยะวิกฤต 

  • เมื่อผู้ป่วย มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  มีอาการเพลีย ซึม ไม่ดื่มนํ้า ไม่รับประทานอาหาร ไม่มีกิจกรรมตามปกติ เมื่อไข้ลง (บางรายจะกระหายนํ้ามาก) อาเจียน ปวดท้องมาก 
  • เลือดออกผิดปกติ มีอาการช็อก (IMPENDING SHOCK) คือมือเท้าเย็นกระสับกระส่าย 
  • ร้องกวนมากในเด็กเล็ก ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย สีผิวคลํ้าลง ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะ 4-6 ชม. 
  • ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะโวยวายเป็นระยะอันตรายของโรค เข้าสู่ระยะช็อก แม้อยู่ในภาวะช็อก ผู้ป่วยจะมีสติดี พูดจารู้เรื่อง ต้องรีบนําส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที 
  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าเกลือแร่หรือนํ้าผลไม้ใส่เกลือเล็กน้อย โดยให้จิบครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ ไม่ควรดื่มแต่นํ้าเปล่าอย่างเดียว  
  • ภาวะช็อกส่วนใหญ่เกิดจากมีการรั่วของพลาสม่าออกนอกหลอดเลือด ทําให้ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น และบางรายอาจถึงขั้นมีความดันโลหิตตํ่าหรือที่เรียกว่าช็อกตามมา 
  • นอกจากนั้นภาวะช็อกอาจเกิดจากการที่เลือดออกในอวัยวะสําคัญได้แก่ เลือดออกในกระเพาะอาหาร 
  • ประจําเดือนมามากกว่าปกติ และเลือดออกจากแผลผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด 
  • ภาวะช็อก อาจทําให้เกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะไตและตับ ซึ่งส่งผลรุนแรงถึงขั้นทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ 

ระยะพักฟื้น 

  • กรณีผู้ป่วยรับการรักษาแล้วแพทย์ให้กลับบ้านได้ ควรดูแลและปฏิบัติตนต่อไปคือไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือดทําให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ 
  • หากมีคนในบ้านมีไข้สูง ให้พามาตรวจควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังภาวะเลือดออกต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ 
  • ควรหลีกเลี่ยงการแคะจมูก การแปรงฟัน การออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาที่มีความรุนแรงหากมีอาการผิดปกติควรรีบพามาพบแพทย์ทันทีให้ยาลดไข้พาราเซตามอล ควรหลีกเลี่ยงยาแอสไพริน หรือ ยากลุ่ม NSAID เช่น ไอบูโปรเฟน เนื่องจากทําให้เกิดเลือดออกทางเดินอาหารมากขึ้น หรือมีผลต่อตับได้ แนะนำให้
การรักษาโรคไข้เลือดออก

การรักษาโรคไข้เลือดออก

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ดังนั้นการรักษา คือ การประคับประคองตามอาการ 

  • ด้วยการดูแลรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยไข้เลือดออกส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถให้การดูแลรักษาที่บ้านได้ ควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุก 1-2 วันเพื่อติดตามอาการ การดูแลผู้ป่วยประกอบด้วย
  • หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ใช้ยาแก้คลื่นไส้
  • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ 
  • เช็ดตัวลดไข้เป็นระยะๆ
  • มีไข้สูงให้กินยาพาราเซตามอล  ห้ามกินยาลดไข้กลุ่มแอสไพริน และNSAID เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายและมากขึ้น
  • สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อคได้ ซึ่งภาวะช็อคส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไข้ลด ได้แก่ อาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่าย หรือเซื่องซีม มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลด หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
  • การรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำได้ไม่เพียงพอ ปวดท้องหรืออาเจียนมาก มีภาวะเลือดข้น มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือมีภาวะช็อก ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

ตรวจโรคไข้เลือดออก ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก