วัณโรค นับเป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อที่ร้ายแรง ทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของสาเหตุการตายของคนไทย สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงต่อการติดเชื้อ 

วัณโรค

วัณโรค คืออะไร?

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย โดยวัณโรคเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก

โดยวัณโรคเกิดได้ทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ 80% พบบ่อยที่ปอด แต่บางครั้งอาจเกิดที่อวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ไต ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อกระดูก ลำไส้ เยื่อหุ้มสมอง เยื่อหุ้มปอด ช่องท้อง ระบบประสาท  ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น

ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาการอาจรุนแรงขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 

สาเหตุวัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ โดยความเสี่ยงของวัณโรคจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  • เคยพักอาศัย หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก
  • เคยมีการติดต่อและสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
  • มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคร้ายแรง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือเอดส์
  • อยู่ในระหว่างการรักษาด้วยยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน
  • มีสุขภาพไม่ดี จากปัญหาทางด้านโภชนาการ ติดยาเสพติด หรือพิษสุราเรื้อรัง
  • เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่เสี่ยงต่อติดเชื้อวัณโรค เนื่องจากมีสุขภาพที่อ่อนแอกว่าคนในวัยผู้ใหญ่
  •  เชื้อวัณโรคบางชนิดมีการดื้อยา โดยเฉพาะกลุ่มยาไอโซไนอาซิดและไรแฟมพิซิน 

ในขณะที่ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้น้อยกว่า เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เองตามธรรมชาติ หรือหากเคยได้รับเชื้อมาก่อนแล้วผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรง เชื้อก็จะไม่แสดงอาการใด ๆ เช่นกัน

วัณโรคปอดติดต่อได้อย่างไร?

วัณโรคปอดติดต่อจากคนสู่คนผ่านทางอากาศ (airborne transmission) เมื่อผู้ป่วยวัณโรคปอด ไอ จาม พูดดัง ๆ ตะโกน หัวเราะ ร้องเพลง ทำให้เกิดละอองฝอย (droplet nuclei) ฟุ้งกระจายออกมา ละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่มากจะตกสงสู่พื้นดินและแห้งไป ละอองฝอยที่มีขนาดเล็ก 1-5 ไมโครเมตร จะลอยและกระจายอยู่ในอากาศ แพร่เชื้อให้ผู้ที่สูดเข้าไป

การแพร่กระจายเชื้อวัณโรคจะมากหรือน้อย พิจารณาปัจจัย 3 ด้านเพิ่มเติม คือ

  1. ความสามารถในการแพร่เชื้อวัณโรคของผู้ป่วย จะแพร่เชื้อทางอากาศได้มาก ผลเสมหะพบเชื้อจะมีโอกาสแพร่ได้มากกว่าเสมหะไม่พบเชื้อ
  2. ระยะเวลาการที่สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วย ทำงานในห้องเดียวกัน มีโอกาสรับเชื้อมาก
  3. ปัจจัยของสิ่งแวดล้อม เช่น การระบายอากาศที่ไม่เหมาะสม สถานที่แออัด แดดส่องไม่ถึง เชื้อสามารถอยู่ในที่ชื้นและมืดได้นานถึง 6 เดือน

อาการวัณโรค

จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะแรก (Primary TB)

ระยะนี้เป็นระยะที่แบคทีเรียเริ่มเข้าสู่ร่างกาย คนส่วนมากที่สุขภาพแข็งแรงมักไม่แสดงอาการ แต่บางคนอาจอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น ไอ มีไข้ต่ำ และอ่อนเพลีย หากมีร่างกายไม่แข็งแรง เชื้อแบคทีเรียอาจเติบโตและพัฒนาไปสู่ระยะถัดไปได้ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไปจนถึงหลายปีกว่าจะแสดงอาการให้เห็น

ระยะแฝง (Latent TB)

ในระยะแฝง เชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกายแต่ยังไม่แสดงอาการใดๆ โดยเชื้อจะซ่อนอยู่ภายในร่างกาย จนกว่าร่างกายจะอ่อนแอ จะก่อให้เกิดอาการที่ชัดเจนได้ หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่โรคจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ

อาการวัณโรค

ระยะแสดงอาการ (Active TB)

ในระยะนี้สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ ได้ เนื่องจากเป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ โดยอาการจะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากที่ได้รับเชื้อวัณโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 2–12 สัปดาห์ ซึ่งผู้ใหญ่และวัยรุ่นอาจมีอาการดังนี้

  • มีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
  • ไอแห้ง หรือมีเสมหะ ไอมีเสมหะปนเลือดปนออกมา
  • เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ 
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • มีไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่ายหรือค่ำ เหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • มีน้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • รู้สึกไม่อยากอาหาร 
  • ไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวทุกข้อ บางรายไม่มีอาการเลย แต่ภาพรังสีทรวงอกเข้าได้กับวัณโรคปอด
  • เด็กที่เป็นวัณโรคอาจมีไข้ที่ไม่ยอมลดลง น้ำหนักตัวลดลง เซื่องซึม ร้องไห้งอแง อาเจียน และไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร

โดยส่วนใหญ่แล้ววัณโรคจะแสดงอาการที่ปอด ซึ่งเรียกว่าวัณโรคปอด แต่เชื้อก็สามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น ไต ตับ สมอง กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อหัวใจ ต่อมน้ำเหลือง กระดูกและข้อ ผิว และกล่องเสียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณร่างกายที่เกิด เช่น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังหากวัณโรคลงกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยอาจมีเลือดในปัสสาวะหากวัณโรคลงไต  

การรักษาวัณโรค

  • การรักษาวัณโรคทำได้ด้วยดูแลสุขภาพควบคู่กับการรับประทานยาทุกวันอย่างน้อย 4–6 เดือน แม้จะไม่มีอาการแล้วก็ตาม เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อวัณโรคซ้ำ และป้องกันเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-Resistant TB)
  • โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide)
  • หากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็อาจจะต้องใช้ยาตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น
  • อย่างไรก็ตาม ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคนั้นเป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง และอาจเป็นพิษต่อตับ ดังนั้นในการรักษา แพทย์และผู้ป่วยจึงต้องร่วมมือกันสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 
  • วัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง
  • ไม่ควรหยุดยาเองเด็ดขาด เมื่อรับประทานยาไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยาจนยากต่อการรักษา
  • หากสงสัยว่ามีอาการแพ้ยาหรือมีผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์
  • ขณะรักษาวัณโรค ควรงดเหล้า บุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด
  • ใช้ผ้าปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจามเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

วัณโรคที่ไม่ดื้อยาใช้เวลาในการรักษานาน 6 เดือน โดยควรมีผู้ดูแลให้ผู้ป่วยกินยาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เเต่ถ้ากินยาไม่สม่ำเสมออาจทำให้เกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานได้ และจะต้องปรับเป็นสูตรดื้อยาที่มีผลข้างเคียงมากขึ้น ราคายาสูงขึ้น เเละต้องกินยานานขึ้น

ตรวจโรคอ้วนที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก