เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฤดูที่เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เริ่มเย็นลง และความชื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น นำมาซึ่งเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ 

 โดยโรคที่พบบ่อยส่วนมากในช่วงฤดูฝน มีหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผล และเยื่อบุผิวหนัง รวมถึงโรคมือเท้าปาก ที่มักพบบ่อยในเด็ก

เตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน

ทำความรู้จักกับแต่ละโรคให้มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน ดังนี้

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

  • โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส
  • ไข้หวัดธรรมดา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง โดยเชื้อที่ก่อให้เกิดไข้หวัดมักเป็นเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรง และสามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
  • โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม
  • โรคปอดอักเสบ และปอดบวม การติดเชื้อหรือที่เรียกว่า Pneumonia ซึ่งพบมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา จนทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ
  • โรคต่อมทอนซิลอักเสบ ติดเชื้อทางระบบหายใจที่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย

เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนบวกกับการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วยเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝนที่อากาศชื้น จะยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัส หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ หากมีอาการป่วย หรือต้องอยู่ในที่ชุมชนแออัด ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม ที่สำคัญควรหมั่นล้างมือบ่อยๆ

กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ

  • โรคไข้เลือดออก มียุงลาย เป็นพาหะซึ่งแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในฤดูนี้
  • โรคไข้สมองอักเสบ เจอี  เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค 
  • โรคมาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตซัวแพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่อง

ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ไม่ว่าจะเป็นยุงลาย ยุงรำคาญ หรือยุงก้นปล่อง เป็นพาหะ โดยส่วนใหญ่มักจะแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา หรือภาชนะที่มีน้ำขัง อาการที่แสดงออกส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ หากเป็นหนักอาจถึงขั้นช็อค หมดสติและเสียชีวิตได้ ทางที่ดีจึงควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด การเดินป่าในหน้าฝน หรือพยายามอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ที่มีต้นไม้เยอะ

โรคที่มียุงเป็นพาหะ

กุล่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร

  • โรคท้องเดิน การติดเชื้อแบคทีเรียจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดตามสุขอนามัย หรืออาหารที่ไม่ปรุงสุก หรือการติดเชื้อไวรัสและมีพยาธิในลำไส้
  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นโรคที่มักเกิดจากการทานอาหารที่ปนเปื้อน
  • โรคบิด เกิดจากปรสิตทำลายลำไส้และกระเพาะ คนที่ได้รับปรสิตนี่จากการกินน้ำไม่สะอาด หรือกินอาหารที่มีการปนเปื้อน แมลงันและแมลงอื่นๆเป็นตัวกระจายเชื้อ
  • โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อน หรือเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมี 
  • โรคตับอักเสบ จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ  เป็นต้น

โดยสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน ถ่ายไม่หยุด อาเจียน บางรายเป็นหนักถึงขั้นขาดน้ำและหมดสติได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินมากเป็นพิเศษ โดยการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลาง ใช้ภาชนะใส่อาหารและน้ำดื่มที่ล้างสะอาด และควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

กลุ่มโรคติดเชื้อทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง

  • โรคแลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู ติดต่อทางบาดแผลและมีน้ำเป็นตัวพาหะ จึงไม่ควรเดินในน้ำขัง โดยเฉพาะในคนที่มีบาดแผล
  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทำให้ตาแดง มีน้ำตาไหล

ซึ่งสาเหตุมาจากการสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง น้ำเสียในท่อระบายน้ำ น้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลทั้งจากคนและสัตว์ สัมผัสดิน สัมผัสอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น

โรค มือ เท้า ปาก

โรค โรค มือ เท้า ปาก นี้พบบ่อยในเด็กเล็ก ติดต่อง่าย ไม่มีวัคซีนป้องกัน และมีโอกาสเป็นเพิ่มมากขึ้นในช่วงหน้าฝน โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส หลังจากรับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย 1-2 วัน เจ็บปาก ไม่ยอมรับประทานอาหาร น้ำลายไหล เพราะมีแผลในปากเหมือนแผลร้อนใน มีผื่นเป็นจุดแดงหรือเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจมีตามลำตัว แขน ขา

ส่วนวิธีการป้องกันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นการป้องกันที่สำคัญ คือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และหมั่นทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมที่เด็กอยู่ทุกวัน

รับวัคซีนป้องกันโรค

วิธีเตรียมพร้อมรับมือกับโรคที่มักเกิดขึ้นในหน้าฝน

การรับมือกับโรค ด้วยการป้องกัน หรือลดการแพร่กระจาย และความเสี่ยงในการติดเชื้อของทั้งตัวคุณเองและคนรอบข้าง ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หลีกเลี่ยงอาหารที่ค้างคืนหรือมีการเก็บรักษาไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับอาหาร
  • ในขั้นตอนการปรุงหรือเก็บอาหารควรแยกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล และไข่ไก่ ออกจากอาหารอื่นๆ และมีเขียงแยกสำหรับหั่นเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานหรือเตรียมอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ
  • ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม และหลีกเลี่ยงการนำมือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการหมั่นออกกำลังกายเสมอ และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ทีประโยชน์ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อสู้โรค 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • หากโดนฝนหรือไปบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ให้รีบอาบน้ำ สระผม ชำระล้างร่างกายให้สะอาด เพื่อป้องกันไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่อาจมากับน้ำฝนหรือน้ำที่ท่วมขัง
  • ป้องกันการถูกยุงกัด ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยคอยดูไม่ให้มีน้ำขังในภาชนะทั้งในบ้านและบริเวณรอบบ้าน ควรมีฝาปิดภาชนะที่ใส่น้ำเพื่อป้องกันยุงลายวางไข่
  • หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสร่วมกันบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวจับบันได
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน หูฟัง เครื่องสำอาง แว่นตา ยาหยอดตา
  • สวมรองเท้าบู้ตทุกครั้งเมื่อต้องลุยน้ำขัง หรือรีบล้างมือล้างเท้าให้สะอาดหลังจากสัมผัสน้ำขังหรือสัตว์ที่เป็นพาหะ 
  • ตรวจสุขภาพ รวมทั้งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น โรคไข้หวัดใหญ่   โรคปอดอักเสบ และไวรัสตับอักเสบ

ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรค ที่ภูเก็ตได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก