น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้รับการรักษานั้นอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยส่งให้เส้นประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะต่าง ๆ ถูกทำลายจนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้

ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด?

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด คือการวัดระดับความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือด ว่าเพื่อประเมินว่าร่างกายควบคุมน้ำตาลได้ดีหรือไม่ สามารถวินิจฉัยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานได้ อีกทั้งยังสามารถติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ใช้ประเมินผลในการรักษาโรคเบาหวานได้

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หรือการเจาะน้ำตาลหลังอดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar: FBS)โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะสามารถบ่งบอกถึงปริมาณของกลูโคสในกระแสเลือด ณ ขณะนั้นว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งการตรวจน้ำตาลในเลือดนี้เป็นการตรวจที่ช่วยคัดกรองและวินิจฉัยว่าเรามีเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่?!

ปัจจุบัน เราสามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง (Self Monitoring of Blood Glucose) ซึ่งสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีข้อดีคือ ทำให้ทราบความเสี่ยงว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ และทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ทันที

ระดับน้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ เรียกว่า ปกติ และไม่ปกติ

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar) เป็นการตรวจดูระดับน้ำตาลที่มีในเลือด โดยต้องงดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ก่อนการตรวจเลือด

  • ค่าปกติ ในผู้ใหญ่ คือ ระหว่าง 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือเป็นระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติ
  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คือ ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน แพทย์อาจแนะนำในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การคุมอาหาร ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการเป็นเบาหวานในอนาคต
  • ค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (โดยการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง) ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ ต่างจากคนทั่วไปที่ฮอร์โมนอินซูลินจะถูกผลิตและหลั่งจากตับอ่อนหลังมื้ออาหาร โดยทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงในระดับปกติ

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะนี้ได้ง่าย เช่น ได้รับฮอร์โมนอินซูลินหรือรับประทานยาเบาหวานไม่เพียงพอ ไม่ควบคุมอาหาร มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้ออกแรง ได้รับบาดเจ็บหรือเข้ารับการผ่าตัด รับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ต้องระวัง

น้ำตาลในเลือดสูงมักไม่มีอาการบ่งบอกในช่วงแรก แต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติได้เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกิน 180 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป อาการในช่วงเริ่มต้นสังเกตได้จาก

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
  • ปวดศีรษะ
  • มองเห็นไม่ชัด
  • กระหายน้ำมาก
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย
  • แผลหายช้าและติดเชื้อง่าย

สำหรับผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงเกิน 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียในเลือดและปัสสาวะ ทำให้มีอาการอื่นตามมา เช่น ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้, หายใจสั้น, ปากแห้ง, คลื่นไส้ อาเจียน, ปวดท้อง, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด ในรายที่อาการรุนแรงอาจรู้สึกสับสน ซึมลง และหมดสติ

หากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ เป็นเวลานาน อาจส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด จนเกิดภาวะอักเสบและอุดตัน และอาจทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายอีกด้วย

ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c

ประเภทของการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Fasting Blood Sugar (FBS)  

  • หากผลตรวจมีค่าน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • หากผลตรวจมีค่าน้ำตาลน้ำตาลกลูโคส 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรปรับพฤติกรรมในการบริโภคน้ำตาล
  • หากผลตรวจมีค่าน้ำตาลกลูโคสสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Glycated hemoglobin (HbA1c) 

เป็นการตรวจวัดระดับโปรตีนฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ถูกจับเกาะด้วยน้ำตาลกลูโคส จะได้ค่าความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยสะสมช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา  

ต้องตรวจในโรงพยาบาลเท่านั้น มีความสำคัญเพื่อช่วยประเมินผลการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในระยะยาวได้ เช่น ภาวะไตเสื่อม ตาเสื่อม ระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบปลายประสาทเสื่อม

  • ค่าปกติ ผู้ไม่เป็นเบาหวาน = น้อยกว่า 5.7 mg%
  • ผู้มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน = 5.7 – 6.4 mg%
  • ผู้เป็นเบาหวาน = มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%
  • สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานเป้าหมายการควบคุมเบาหวานที่ดี HbA1c น้อยกว่า 7 mg%

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง SMBG (Self Monitoring of Blood Glucose)


เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ณ เวลาที่ตรวจ ซึ่งเราสามารถตรวจได้เองเป็นประจำ มีประโยชน์คือ ทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานปรับการดูแลตนเองได้ทันที เช่น เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อแตก หิว) ก็จะสามารถนำเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลมาตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และสามารถนำผลน้ำตาลที่วัดได้มาอ้างอิงในการไขการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ และการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองยังสามารถทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนอาหาร = 80 – 130 mg/dL
  • น้ำตาล 2 ชั่วโมง หลังอาหาร น้อยกว่า 180 mg/dL
  • ผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน น้ำตาลก่อนอาหาร = 70 – 99 mg/dL
  • น้ำตาล 2 ชั่วโมง หลังอาหาร น้อยกว่า 140 mg/dL

ประโยชน์ของการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

  • เพื่อใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยผู้ที่มีอาการแสดง หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
  • เพื่อใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • เพื่อใช้ประเมินผลการรักษา และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  • เพื่อช่วยใช้ในการตรวจป้องกัน และแก้ไขอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อมีอาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก