โรคฝีมะม่วง ถือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรื้อรัง ผู้ป่วยมักได้รับเชื้อผ่านการร่วมเพศ หรือสัมผัสหนองจากฝีมะม่วงโดยตรง ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศและต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ซึ่งเจ็บปวดมากจนเดินไม่ได้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ไข่ดัน  และโรคนี้ไม่ค่อยเป็นในเพศหญิง ก็เพราะในผู้หญิงน้ำเหลืองจากอวัยวะสืบพันธุ์จะระบายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในท้องน้อยมากกว่ามาที่ขาหนีบ และเมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมากกว่า

ปัจจุบันโรคฝีมะม่วงมีแนวโน้มของการเกิดมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีมะม่วง ได้แก่ การมีคู่นอนหลายคน, การไม่สวมถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศ, และการมีรักร่วมเพศระหว่างชายกับชาย หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยหายและใช้ชีวิตได้ตามปกติ

โรคฝีมะม่วง

โรคฝีมะม่วง คืออะไร?

โรคฝีมะม่วง (Lymphogranuloma Venereum : LGV) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ผิวหนัง จะเกิดแผลที่อวัยวะเพศ และทวารหนัก  โดยจะเกิดตุ่มหรือแผลขนาดเล็กที่อวัยวะเพศก่อน จากนั้นต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบจะอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดบวมและเดินลำบาก

ซึ่งฝีมะม่วงมีความสัมพันธ์ กับเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคฝีคัณฑสูตร (Fistula)  หากรูทวารเกิดการอักเสบ มีแผล ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตลอดเวลา ขับถ่ายถ่ายลำบาก ท้องร่วง และรูทวารตีบตันได้ ส่วนผู้หญิงที่ป่วยเป็นฝีมะม่วงจะทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ ส่งผลให้ท้องนอกมดลูกได้ หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง รวมทั้งประสบภาวะมีบุตรยาก

สาเหตุโรคฝีมะม่วง

เกิดจากการติดเชื้อของระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ซึ่งเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง โดยการติดเชื้อแบคทีเรียคลามีเดียทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) นอกจากการแพร่เชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ สัมผัสแผลหรือบริเวณที่มีเชื้อดังกล่าวอยู่ หรือสัมผัสผิวหนังกัน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค มีดังนี้

โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย
  • มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน
  • มีเพศสัมพันธ์ โดยให้คู่นอนสอดใส่ทางทวารหนัก
  • มีเพศสัมพันธ์กับผู้ขายบริการทางเพศ
  • ทำออรัลเซ็กซ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ใช้น้ำยาสวนทวารหนัก

อาการโรคฝีมะม่วง

อาการโรคฝีมะม่วง จะแสดงอาการหลังติดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะมีระยะฟักตัว 3 วัน-6 สัปดาห์ นับตั้งแต่ได้รับเชื้อ โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโรคฝีมะม่วง มักเกิดแผลในช่วง 10-14 วัน และจะเกิดอาการอักเสบที่ต่อมน้ำเหลืองในช่วง 10-30 วัน หลังจากได้รับเชื้อ อาการของฝีมะม่วงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ฝีมะม่วงแบ่งอาการออกเป็น 3 ระยะ

ระยะแรก ช่วง 3-30 วันแรกของการติดเชื้อ ผู้ป่วยจะแสดงอาการดังนี้

  • มีตุ่มนูนเล็ก ๆ ขึ้นมา หรือเป็นแผลตื้น ๆ หรือแผลถลอก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • มีแผลเปื่อยขึ้นมาและหายไปเองภายใน 2-3 วัน
  • อาจเกิดอาการป่วยคล้ายโรคท่อปัสสาวะอักเสบ
  • ผู้ชายอาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งหลอดน้ำเหลืองที่องคชาตอักเสบทำให้อวัยะวะเพศแข็งเป็นลำ
  • ผู้หญิงอาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อที่ผนังด้านหลังมดลูกหรือปากช่องคลอด
  • บริเวณต่อมน้ำเหลืองมีก้อนนุ่ม ๆ นูนขึ้นมา ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม
  • ผู้ที่ทำออรัลเซ็กซ์อาจเกิดการติดเชื้อที่ปากร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยบางรายจะอาการแสบขณะปัสสาวะ
อาการโรคฝีมะม่วง

ระยะที่ 2 หลังจาก 2-3 สัปดาห์จากระยะแรก และจะแสดงอาการประมาณ 10-13 วัน ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการดังนี้

  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบบวม แดง ใหญ่เป็นก้อน กลายเป็นฝีมะม่วง อาจจะมีหนองแตกออกสู่ผิวหนังด้านนอก อาการจะทุเลาขึ้นภายใน 8-12 สัปดาห์ มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยเพศชาย
  • ผู้ที่ติดเชื้อบริเวณริมฝีปาก จะได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลาย และต่อมน้ำเหลืองตรงกระดูกสันหลังคอ
  • ผู้หญิงที่ติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดหลังส่วนล่าง เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองที่โตเป็นส่วนที่อยู่ในช่องท้อง
  • ผู้ที่ติดเชื้อบริเวณทวารหนัก จะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายเป็นเลือด มีอาการปวดขณะเบ่งอุจจาระ เป็นต้น
  • นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ตับ และม้ามโต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากการที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด
  • เกิดฝีมะม่วงซึ่งเป็นก้อนนุ่มสีใสขนาดใหญ่ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2-6 สัปดาห์หลังจากต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างเริ่มมีอาการบวมและปวด
  • ผู้หญิงที่ติดเชื้อจะมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดหลังส่วนล่าง เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองที่โตเป็นส่วนที่อยู่ในช่องท้อง
  • อาจมีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม และปวดตามข้อ
  • ผู้ที่ติดเชื้อบริเวณริมฝีปาก จะได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลาย และต่อมน้ำเหลืองตรงกระดูกสันหลังคอ
  • เกิดผื่นแดงและมีไข้ รวมทั้งมีตุ่มแข็งขนาดใหญ่ขึ้นที่ผิวหนัง
  • ผู้ที่ติดเชื้อบริเวณทวารหนัก จะมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ขับถ่ายเป็นเลือด มีอาการปวดขณะเบ่งอุจจาระ เป็นต้น
  • นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ภาวะเยื่อตาอักเสบ ตับโต  ม้ามโต  เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดบวม หรือข้ออักเสบ ากการที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด

ระยะที่ 3 อาการของฝีมะม่วงในระยะนี้จะแสดงอาการ หลังจากติดเชื้อไปแล้วหลายเดือน จนถึง 20 ปี ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงอาการดังนี้

  • มักเกิดอาการอักเสบที่ลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
  • รู้สึกคันทวารหนักและมีเลือดกับมูกปนหนองออกมา ทั้งนี้ อาจรู้สึกที่ก้น ปวดเบ่งที่ลำไส้ตรงเหมือนจะถ่ายหนักตลอดเวลา มีหนองไหลออกทางรูทวาร  ท้องผูก และน้ำหนักลด 
  • การอักเสบเรื้อรังของโรคอาจทำให้เกิดฝี หากบริเวณฝีเย็บมีหนองแตกออกจากต่อมน้ำเหลือง ส่งผลให้เนื้อเยื่อไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ไส้ตรงจึงเกิดการตีบตันขึ้น  ทำให้ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ตรงติดเชื้อ และการผิดรูป
  •  เกิดแผลลุกลามซึ่งส่งผลให้อวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ

การรักษาโรคฝีมะม่วง

วิธีรักษาโรคนี้มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาด้วยยา แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยโรคฝีมะม่วง เพื่อใช้รักษาการติดเชื้อและป้องกันเชื้อแบคทีเรียทำลายเนื้อเยื่อส่วนอื่น โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคฝีมะม่วง ประกอบด้วย
    • ดอกซีไซคลิน (Doxycycline) ผู้ป่วยมักได้รับการรักษาด้วยยานี้เป็นอันดับแรก โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาดอกซีไซคลินวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 100 มิลลิกรัม เป็นเวลา 21 วัน
    • อะซิโธรมัยซิน (Azithromycin) ยานี้เป็นยารักษาโรคฝีมะม่วงอีกชนิดที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วย โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ยาอะซิโธรมัยซินปริมาณ 2 กรัม เป็นเวลา 20 วัน
  • การผ่าตัด ผู้ป่วยฝีมะม่วงที่เกิดก้อนฝีหรือต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจต้องเจาะผิวเอาของเหลวในฝีออกมา เพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายที่ลำไส้ตรงตีบหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด และหลังจากการผ่าตัดหากผู้ป่วยมีเพศสัมพันธ์ ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง อีกทั้งควรมาพบแพทย์ตามนัดหมาย จนกว่าอาการติดเชื้อจะหายเป็นปกติ
  •  การรักษาแบบประคบฝี  ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น แล้วบิดให้แห้งพอหมาดๆ ประคบบริเวณที่ปวดบวม ประมาณ 10-15 นาที และทำซ้ำทุกๆ 8 ชม

หลังได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยจนกว่าจะหายดี รวมทั้งควรมาพบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอจนกว่าอาการของการติดเชื้อจะหายเป็นปกติ

ตรวจโรคฝีมะม่วงที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก