ไขมัน เป็นสารประกอบที่สำคัญในร่างกาย ที่ให้พลังงาน บำรุงสมอง ดูดซึมวิตามิน และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้มีอุณหภูมิสมดุลอยู่เสมอ แม้การได้สารไขมันจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณเกินความจำเป็นอาจเป็นโทษแก่ร่างกายได้เช่นกัน ฉะนั้นการตรวจไขมันในเลือ จึงเป็นเกณฑ์การพิจารณามวลไขมันร่างกายของมนุษย์มีมากน้อยแค่ไหน ระดับไหนควรต้องลด และเพิ่มปริมาณสารไขมันอะไรบ้าง

จนทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง หรือ ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันในร่างกายส่วนใหญ่ หมายถึง โคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เพราะระดับไขมันในเลือดที่ไปเกาะอยู่ตามผนังและส่วนต่าง ๆ ของหลอดเลือดส่งผลโดยตรงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ ให้หลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวกจนเลี้ยงหัวใจและอวัยวะอื่น ๆ ไม่เพียงพอ เสี่ยงเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันและตรวจเช็คไขมันในกระแสเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบค่าไขมันว่าอยู่ในระดับที่ผิดปกติหรือไม่

ตรวจระดับไขมันในเลือด

การตรวจไขมันในเลือด คืออะไร?

การตรวจไขมันในเลือด ( Lipid Profile)  คือ การเช็คระดับไขมันทุกส่วนประกอบของเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมด เช่น ไขมันชนิดคอเลสเตอรอล  ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันชนิดเลว และไขมันชนิดดี  มีการไหลเวียนที่ปกติหรือมีปริมาณการอุดตันในหลอดเลือดมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำผลการตรวจระดับไขมันในเลือดไปวินิจฉัยภาวะโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะขาดเลือด เช่น โรคหัวใจ (Heart disease)  และภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงจาเกิดการอุดตันอย่าง โรคหลอดเลือดตีบตัน  (Arteriosclerosis) ที่เป็นโรคแทรกซ้อนยอดนิยมของคนไทย ให้ได้รับการติดตามรักษาอย่างใกล้ชิด

การตรวจไขมันในเลือด ตรวจอะไรบ้าง?

1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในผนังเซลล์ทุกส่วนของอวัยวะภายในร่างกายทั้งหมด และเป็นไขมันที่ประกอบในน้ำดีในตับ สำหรับย่อยสลายสารไขมันอีกด้วย ปริมาณของคอเลสเตอรอลจะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีสารคอเลสเตอรอลมากน้อยแค่ไหน เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และสัตว์ทะเลปลา กุ้ง ปู เป็นต้น

หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณการตรวจ Cholesterol มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มบริเวณผนังหลอดเลือดจนเกิดเส้นเลือดอุดตัน นำไปสู่ภาวะขาดเลือดอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจ  และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้

2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ร่างกายเกิดจากการสังเคราะห์ภายในตับ ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ จะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่่เป็นไขมันแท้โดยตรง และสารอาหารที่มีน้ำตาลประกอบสูง เช่น แอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มผสมน้ำตาล น้ำมัน แป้ง ผลไม้รสหวานจัด เนยในส่วนประกอบของหวาน เป็นต้น

หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณการตรวจ Triglyceride มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มเนื่อเยื่อภายในส่วนของอวัยวะภายในร่างกายจนพอกพูน นำไปสู่ภาวะไขมันสะสมอย่างโรคไขมันเกาะตับ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งเต้านม

3. ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL) คือ สารไขมันที่เป็นตัวนำเลี้ยงคอเลสเตอรอลพัดพาไปสู่อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ ปริมาณของไขมันเลวจะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่่มีสารไขมันเลวมากน้อยแค่ไหน เช่น น้ำมันจากสัตว์ กะทิ เนย ครีมเทียม มาการีน และมันฝรั่งทอด เป็นต้น

หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณไขมันชนิดเลวฃ มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มตามผนัวเส้นเลือดไปทั่วตามร่างกายจนท่อนำเลียงเลือดอุดตัน นำไปสู่ภาวะเส้นหลอดเลือดตีบตัน 

4. ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) คือ สารไขมันที่เป็นท่อนำเลียงไขมันจากอวัยวะภายในและกรดไขมันทั้งหมด นำไปสู่การย่อยสลายที่อวัยวะส่วนตับและผลิตน้ำดีออกมา อีกทั้งไขมันดีจะช่วยกีดกันไขมันเลวจากการสะสมในบริเวณหลอดเลือดแดงอีกด้วย อาหารที่มีส่วนประกอบไขมันชนิดดี เช่น เนื้อปลาที่มีกรดไขมันสูง ชีส ไข่เต็มฟอง อะโวคาโด และดาร์ดช็อกโกแลต เป็นต้น

ระดับไขมันในเลือด บอกอะไรเราได้บ้าง?

โดยสามารถแบ่งการตรวจค่าไขมันในเลือดได้ ดังนี้

  • คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นระดับไขมันรวมในกระแสเลือด กรณีพบภาวะไขมันในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl  สามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ 
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) หากตรวจพบไตรกลีเซอไรด์มีค่าสูงกว่า 150 mg/dl ถือว่ามีความเสี่ยงโรคไขมันอุดตัน และหลอดเลือดแข็งตัว ตับอ่อนอักเสบ
  • ไขมันชนิดดี เป็นไขมันดี มีหน้าที่จับไขมันตามผนังหลอดเลือดเพื่อนำไปทำลายที่ตับ หากมีระดับ HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งระดับ HDL ในหลอดเลือดไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dl ในเพศชาย และ 50 mg/dl ในเพศหญิง ระดับที่ดีควรมากกว่า 60 mg/dl
  • ไขมันชนิดเลว หรือไขมันตัวร้าย หากมีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตันตามอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจและสมอง ดังนั้นจึงไม่ควรมีระดับ LDL สูงเกินกว่า 130 mg/dl
ใครที่ควรตรวจไขมันในเลือด

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจไขมันในเลือด

  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์บ่อย
  • ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • กรรมพันธ์จากคนในครอบครัวที่มีประวัติ โรคหัวใจ ไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักมาก  หรือผู้ที่มีดัชนีมวลน้ำหนักจากการคํานวณค่า BMI (Body Mass Index) ที่สูงกว่าตามมาตรฐาน
  • บุคคลที่แสดงอาการผิดปกติทางกายภาพเช่น แน่นหน้าอก หน้ามืด ใจสั่น วินเวียนศีรษะร่วมติดต่อกัน

การเตรียมตัวก่อนตรวจไขมันในเลือด

ทางแพทย์จะใช้วิํธีการเจาะเลือดตรวจไขมันไปวิเคราะห์ไขมันชนิดต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยสภาพมวลไขมันของผู้ป่วยในปัจจุบัน จึงมีวิธีการแนะแนวผู้ป่วย สำหรับตรวจไขมันในเลือด ต้องเตรียมตัวมีดังนี้

  • ก่อนตรวจไขมันในเลือด 3 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามปกติ
  • ดื่มน้ำเปล่า และงดดื่มเครื่องดื่มประกอบสารคาเฟอีน แอลกอฮอร์ และน้ำเกลือแร่ ก่อนวันตรวจไขมันในเลือด 1 วัน
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย สำหรับการถกแขนเสื้อเพื่อเจาะเลือดได้สะดวก
  • วันนัดตรวจไขมันในเลือด งดอาหารกี่ชั่วโมงนั้น ให้ผู้ป่วยอดอาหารและดื่มน้ำเปล่า 12 ชั่วโมงก่อนตรวจไขมันในเลือด ในกรณีสำหรับการตรวจไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์
  • หากเป็นการหาไขมันชนิด Cholesterol  ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอดอาหารสามารถมาโรงพยาบาลแล้วเตรียมรอเจาะเลือดได้เลย

ตรวจระดับไขมันในเลือด ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก