โรคอ้วนเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ตามมามากมาย ดังนั้นการรู้เท่าทันโรคอ้วน ไม่ปล่อยให้ตัวเลขน้ำหนักพุ่งเกินเกณฑ์ และควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้ห่างไกลโรคอ้วน สุขภาพดีได้ในทุกช่วงวัยของชีวิต

โรคอ้วน

โรคอ้วน คืออะไร?

โรคอัวน (Obesity) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมพลังงานที่เหลือเอาไว้ในรูปของไขมันตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ทำกิจกรรมต่าง ๆ ยากลำบากขึ้น สูญเสียความมั่นใจ และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไขมันพอกตับ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

นอกจากนี้ รูปลักษณ์ภายนอกอาจทำให้รู้สึกไม่มั่นใจในตนเอง นำไปสู่การเกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น การเข้าสังคม ไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตอย่างภาวะซึมเศร้าตามมาด้วย

โรคอ้วนมีกี่ประเภท?

โรคอ้วนที่ผลร้ายต่อสุขภาพมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  • อ้วนลงพุง เป็นการสะสมของไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหารและอื่นๆ
  • อ้วนทั้งตัว  คือการมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ โดยมิได้จำกัดอยู่ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ

สาเหตุโรคอ้วน

แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคอ้วน มักมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก เพราะมีพฤติกรรมการรับประทานที่ตามใจตนเอง จนทำให้รับประทานเกินความต้องการของร่างกาย

ปัจจัยภายนอก ได้แก่

  • การบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง เนื้อ ไขมัน แป้ง ของหวาน
  • รับประทานไม่เป็นเวลา กินจุบกินจิบ
  • เครื่องดื่มแคลลอรี่สูง
  • นั่งๆ นอนๆ เป็นส่วนใหญ่
  • การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขาดการออกกำลังกาย
  • การเลิกสูบบุหรี่
  • การขาดการนอนหลับ
  • ความพยายามในการลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องก่อนหน้า

ปัจจัยภายใน ได้แก่

  • ความผิดปกติของต่อมไรท่อ เช่น ต้อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์
  • ภาวะเครียด
  • จิตใจและอารมณ์
  • การตั้งครรภ์
  • ไมโครไบโอม
  • กรรมพันธุ์ ปริมาณไขมันในร่างกายมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม นอกเหนือจากไขมันส่วนเกินในร่างกายแล้ว พันธุกรรมอาจมีส่วนในการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน การเผาผลาญแคลอรี่ รวมไปถึงการควบคุมความอยากอาหาร
  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • โรคอ้วนอาจเป็นผลมาจากปัญหาทางการแพทย์บางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง และกลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ 
  • การรับประทานยาบางชนิด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา เช่น ยาต้านอาการชัก ยาเบาหวาน ยาต้านอาการซึมเศร้า สเตียรอย ด์และเบต้าบล็คเกอร์
  • อายุ เนื่องจากอายุมาก จะมีการใช้พลังงานน้อยลง
  • แม้ว่าโรคอ้วนจะเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่ระบบบางอย่าง เช่น ฮอร์โมน การเผาผลาญและปริมาณของกล้ามเนื้อ จะเปลี่ยนไป และส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัว 
เป้าหมายของการรักษา

อาการโรคอ้วน

อาการของโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน  โดยทั่วไปคนไข้จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนหากดัชนีมวลกายหรือ BMI สูงถึง 30 หรือมากกว่า ค่าดัชนีมวลกายสามารถประมาณไขมันในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถวัดไขมันในร่างกายได้อย่างแม่นยำ ค่าดัชนีมวลกายอาจสูงในคนที่มีกล้ามเนื้อมาก ซึ่งอาจไม่มีไขมันส่วนเกินในร่างกายได้เช่นกัน

ซึ่งโรคอ้วน สามารถบ่งบอกได้ว่าอ้วนช่วงไหน มีสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมอะไร มาดูกันว่าคุณมีไขมันสะสมช่วงไหนมากเป็นพิเศษ และเกิดจากอะไรเพื่อการแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างตรงจุด เพื่อลดอาการเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ ตามมา

  1. อ้วนช่วงบน คือการได้รับน้ำตาลและอาหารที่มากเกินไป
  2. อ้วนกลางหน้าท้อง อาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าและความเครียดลงกระเพาะ
  3. อ้วนช่วงล่าง เกิดจากการแพ้อาหารที่มี Gluten จากขนมปังหรือธัญพืช
  4. บริเวณหน้าท้องบวม เกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือเกิดจากระบบหายใจลำบาก
  5. อ้วนบริเวณช่วงล่างลงไปถึงขา เกิดจากพันธุกรรมหรือหรือเกิดในช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์
  6. อ้วนช่วงท้องด้านบน และด้านหลังยื่น เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ค่อยขยับตัว เนื่องจากร่างกายไม่ได้ใช้อวัยวะในการเคลื่อนไหวเลย หรือคนที่ชอบอยู่นิ่งๆ ไม่ใช้อวัยวะในร่างกายเลยทำให้เป็นโรคอ้วน

การรักษาโรคอ้วน

เป้าหมายของการรักษา คือ การเข้าถึง และรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง คุณอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนิสัยบางอย่างของคุณหรือแพทย์อาจแนะนำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพรวมทั้งนักกำหนดอาหารที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโรคอ้วนอาจทำงานร่วมกับคุณเพื่อสร้างโปรแกรมลดน้ำหนักที่ช่วยให้คุณเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแผนได้ ได้แก่

  • การเปลี่ยนแปลงอาหาร คือ การลดแคลอรี่ และฝึกนิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ แผนการรับประทานนี้อาจใช้เวลาประมาณหกเดือนขึ้นไปโดยดำเนินการต่อเนื่องอย่างน้อยหนึ่งปี
    • การลดปริมาณแคลอรี่
    • ทำให้อิ่มโดยการเลือกรับประทาน เช่น การบริโภคผักและผลไม้จำนวนมากที่มีแคลอรี่น้อย
    • เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
    • การจำกัดปริมาณอาหารบางกลุ่ม เช่น คาร์โบไฮเดรตและไขมัน
    • การทดแทนมื้ออาหาร
  • การออกกำลังกายและการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ
  • ยาลดน้ำหนักทางการแพทย์ คือ ขั้นตอนและการผ่าตัดบางอย่าง เช่น
    • ขั้นตอนการส่องกล้องเพื่อลดน้ำหนัก
    • การผ่าตัดลดน้ำหนักเช่น 
    • การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารโดยการทำ Bypass
    • แถบรัดกระเพาะอาหารที่ปรับได้
    • การผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้น (Biliopancreatic diversion with duodenal switch)
    • การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารแบบ Gastric sleeve
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น การสกัดกั้นสัญญาณประสาท

ตรวจโรคอ้วน ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก