โรคภูมิแพ้ เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้อากาศ แพ้อาหาร แพ้ฝุ่นละออง แพ้เกสรดอกไม้ หรือแม้แต่โรคภูมิแพ้ตัวเอง  ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบกับอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้  โดยโรคภูมิแพ้ อาจจะเกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิต

ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้แล้วสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการสูดดม , รับประทานหรือสัมผัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองสารก่อภูมิแพ้นั้นด้วยการหลั่งสารก่อการอักเสบต่างๆ ที่จะกระตุ้นให้มีการพัฒนาเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถผลิตแอนติบอดีต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด ทำให้มีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากอาการภูมิแพ้ต่างๆ นั่นเอง 

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ คืออะไร?

โรคภูมิแพ้  (Allergy ) คือ โรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดย เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ หรือเกิดจากภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ไรฝุ่น ละอองเกสร ซึ่งในคนทั่วไปจะไม่มีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้ 

ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน และอาการของโรคอาจเกิดขึ้นกับระบบใดระบบหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดขึ้นพร้อมกันหลายระบบ มักจะเป็นเรื้อรัง ความรุนแรงมีตั้งแต่รบกวนชีวิตประจำวันเล็กน้อยไปจนถึงขั้นที่อันตรายถึงแก่ชีวิต

สาเหตุโรคภูมิแพ้

  • พันธุกรรม จะเกิดขึ้นได้ง่ายถ้ามีพันธุกรรม เช่น โรคหืด โรคแพ้อากาศ และผื่นภูมิแพ้ในเด็กยิ่งถ้ามีประวัติว่าทั้งพ่อและแม่เป็น จะยิ่งมีโอกาศมากกว่าพ่อหรือแม่เป็นฝ่ายเดียว กล่าวคือถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะมีผลให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-70 ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลยมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียง 10%
  • สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายเราเกิดจากสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น  ไม่ว่าสารก่อภูมิแพ้ที่เข้าร่างกายโดยการหายใจ  การรับประทาน หรือการสัมผัส  สารก่อภูมิแพ้บางอย่างสังเกตได้ง่าย  ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ตามมา ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อรา ในอากาศ หรือไรฝุ่นในบ้าน ซึ่งพบมากตามที่นอน หมอน โซฟา ห้องรับแขก พรม ฯลฯ หรืออาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ขาว อาหารทะเล หรือแพ้อากาศ เมื่ออากาศเปลี่ยน การสัมผัสสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ หรือผู้ป่วยกวาดบ้าน เล่นกับแมวหรือสุนัขแล้วเกิดอาการจาม คัดจมูกหรือหอบ และอาจเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ลมพิษ แพ้จาการสัมผัส เช่น แพ้เครื่องประดับ แพ้เครื่องสำอาง เป็นต้น

ชนิดของโรคภูมิแพ้

  • ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม หรือทำให้เกิดโรคหืด มีอาการไอ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ หายใจมีเสียงหวีด
  • ภูมิแพ้อาหารและยา ทำให้เกิดผื่นคันแบบลมพิษ หน้าบวม ปากบวม แน่นคอ แน่นหน้าอก เป็นลมหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ และมีโอกาสเสียชีวิตได้
  • ภูมิแพ้ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงคันเรื้อรัง ผิวแห้งลอก ส่วนใหญ่มักเป็นตามข้อพับแขนขาและลำคอ
  • ภูมิแพ้ตา ทำให้เกิดเยื่อบุตาอักเสบ มีอาการคันตา เคืองตา ตาแดง ขยี้ตาเยอะผอกปกติ ตาบวม
  • ภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่สามารถเกิดกับอวัยวะในร่างกายได้หลายระบบ
อาการโรคภูมิแพ้

อาการโรคภูมิแพ้

จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจากการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่

  • ระบบการหายใจ ตั้งแต่จาม คันจมูก น้ำมูกไหล คัดจมูก คันตา คันคอ หรือไอเรื้อรังมีเสมหะ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเสียงดังวี้ดๆ อาการดังกล่าวอาจเป็นๆ หายๆ อาจมีอาการเป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นตลอดเกือบทั้งปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุ
  • ระบบผิวหนัง อาจแสดงเป็นลมพิษ ผื่นคันตามข้อพับ ในเด็กอาจมีผื่นแดงบริเวณแก้ม
  • ระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด
  • แสดงอาการทุกระบบ ในคนไข้ที่แพ้รุนแรง อาจมีทั้งอาการหอบ หายใจลำบาก ลมพิษขึ้น ช็อคหรืออาจเสียชีวิต
  • บริเวณตา จะเกิดการคันตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหลบ่อย

การรักษาโรคภูมิแพ้

ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาสาเหตุว่าเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ตัวใด เพื่อหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุ ก็จะทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ดีขึ้นได้ โดยการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้สามารถตรวจได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ

  • การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหนัง (สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป)
  • การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยการเจาะเลือด

และเมื่อทราบสาเหตุของการเป็นโรคภูมิแพ้แล้ว ควรรับการรักษา และติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง โดยการรักษาโรคภูมิแพ้ให้ได้ผลดีนั้นมีหลายวิธี เช่น

  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง เนื่องจากการรักษาที่ดีที่สุดของโรคภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อการรักษา หรือเพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น
  • การใช้ยารักษา แพทย์จะวินิจฉัย และจ่ายยาให้ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่มีอาการคัดจมูกมากอาจจะต้องใช้ยาลดอาการคัดจมูก สำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาพ่นจมูก เพื่อทำให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้นได้
  • การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันชนิด IgG การฉีดจะเลือกฉีดเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วพบว่าแพ้ จากนั้นแพทย์จะเพิ่มขนาดยาตามตารางเวลา ซึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดจะมีรอยผื่นแดง ผื่นคัน นานประมาณ 4 – 8 ชั่วโมง ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น คือ การคัดจมูก น้ำมูกไหล อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังฉีด มีส่วนน้อยที่อาจจะแพ้ยาที่ฉีดชนิดรุนแรง แต่อาการมักเป็นชั่วคราว และหายได้หลังจากแพทย์ให้ยาแก้แพ้
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาโรคร่วม เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคอ้วน
  • โรคภูมิแพ้ บางชนิดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมโรคไม่ให้มีอาการหรือมีอาการน้อยที่สุดได้ เพราะควรตรวจหาสาเหตุและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ตรวจโรคภูมิแพ้ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก