ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีไวรัสตับอักเสบบีระบาดมาก โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงนับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลายโดยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ เป็นลำดับต้น ๆ ในประเทศไทย ราวเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังในประเทศไทย

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ  ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตายหากปล่อยให้เรื้อรังจะเกิดพังผืดอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้

โรคไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร?

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ไวรัสตับอักเสบบีนั้น สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และน้ำหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง  และการติดต่อจากแม่สู่ลูกซึ่งเป็นทางติดต่อที่พบมากที่สุด 

สาเหตุโรคไวรัสตับอักเสบบี

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus หรือ HBV) ทำให้เกิดปฎิกิริยาต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย  จนเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่ 90% มีประวัติเป็นโรคไวรัสตับอักเสบมาก่อน

โดยสามารถรับเชื้อได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ 

  • การติดต่อผ่านทางของเหลวที่ออกมาจากร่างกาย เช่น สารคัดหลั่ง เลือด น้ำเชื้อ น้ำเหลือง เป็นต้น โรคนี้จะติดต่อผ่านคนสู่คนก็ต่อเมื่อของเหลวในร่างกายของผู้ติดเชื้อผ่านเข้าสู่ร่างกายของบุคคลอื่น โดยจะติดต่อผ่านทางบาดแผล รอยแผล หรือผิวหนังถลอก
  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ป้องกัน / ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น เข็มฉีดยา แปรงสีฟัน มีดโกน เป็นต้น
  • การสัก เจาะหูหรือการฝังเข็มโดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การติดต่อจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสสู่ทารกในครรภ์  
อาการโรคไวรัสตับอักเสบบี

อาการโรคไวรัสตับอักเสบบี

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่รู้ตัว หรือผู้ป่วยมักจะแสดงอาการออกมาหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 1-3 เดือน โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

  • มีไข้ต่ำๆ
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรืออ่อนแรงและปวดตามข้อ
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาเหลือง และตัวเหลือง
  • จุกแน่นใต้ชายโครงขวาเนื่องจากตับโต หรือปวดบริเวณช่องท้อง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

การรักษามี 2 วิธี ได้แก่

1. การกินยา เพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและการแพร่กระจายของเชื้อ ถือเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

2. การฉีดยา (Interferon) เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน โดยการฉีดใต้ผิวหนังอาทิตย์ละครั้ง และฉีดต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี แต่อาจจะมีผลข้างเคียงจากยามากกว่ายาแบบรับประทาน

โดยแบ่งระยะการรักษาดังนี้

  • ระยะสงบ จะติดตามผมเลือดเป็นระยะอย่างน้อยทุก 3-6 เดือน เพื่อเตรียมตัวรักษาเมื่อมีการอักเสบ โดยระยะที่ตับยังไม่อักเสบจะยังไม่มีการใช้ยาต้านไวรัส
  • ระยะตับอักเสบ จะตรวจปริมาณไวรัสและรักษาโรคโดยการใช้ยาฉีดหรือยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน
  • ระยะที่มีตับแข็งหรือระยะที่มีมะเร็งตับ จะพิจารณาใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน
  • การรักษาในกลุ่มพิเศษ เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันหรือผู้ป่วยที่เตรียมรับยาเคมีบำบัด จะมีการพิจารณารักษาด้วยยาต้านไวรัสชนิดรับทาน

ตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบี ที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก