ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญในการปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย ช่วยกำจัดของเสีย สารพิษ รวมถึงยาส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุทั่วโลก เพราะโรคดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อไต ซึ่งถ้าไตเสื่อมรุนแรงจนไม่ทำงาน จะทำให้เกิดความผิดปกติจนไม่สามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ การปลูกถ่ายไต จึงจะดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้สูง เช่น โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์ ซึ่งทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ตรวจการทำงานของไตสำคัญอย่างไร

ไต คืออะไร?

ไต (Kidneys) คือ หนึ่งในอวัยวะภายในของมนุษย์ ที่ต้องทำงานหนักอยู่แทบจะตลอดเวลา  มีลักษณะเป็นเมล็ดถั่วเหลืองขนาดเล็กเท่ากำปั้น อยู่คู่กันระหว่างผนังลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอว 

เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยปรับความสมดุลสารต่าง ๆ ที่มีปริมาณมากเกินความต้องการต่อร่างกาย หรือมีหน้าที่ฟอกของเสียออกจากร่างกาย และ ฟอกเลือดในร่างกายเราให้เป็นเลือดที่สะอาดไร้สารพิษ ให้ถูกขับออกไปเป็นรูปแบบของเหลวในช่องทางเดินน้ำปัสสาวะอย่างสม่ำเสมอ และยังทำหน้าที่คุมปริมาณวิตามินกับแร่ธาตุสำคัญหลายตัวในร่างกายอีก 

ด้วยเหตุนี้ หากไตของคุณทำงานบกพร่องหรือเสียหาย ร่างกายของคุณจะเต็มไปด้วยของเสียที่ไม่ได้ล้างออก ความดันโลหิตคุณของสูงขึ้น ยังไม่รวมโรคหรือความผิดปกติที่จะตามมาอีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ที่อาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

เพื่อให้ไตสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจค่าไตจึงเป็นดัชนีที่จะช่วยชี้และค้นหาสาเหตุการทำงานที่ผิดปกติของทุกส่วนประกอบของไต ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติโรคไตมาก่อน พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลวินิจฉัย ตรวจหาโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ และให้แนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง

ไตทำหน้าที่อะไรบ้าง?

จะมีการแบ่งหน้าที่หลัก ๆ ได้แก่ 

  1. ช่วยคัดกรองของเสียภายในไต มักจะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายไม่ว่าจะเป็นสารเคมี วิตามินหรือเกลือแร่ที่เกินต่อความจำเป็นต่อร่างกาย และการเผาผลาญจากสารอาหาร (Metabolism) ที่มีสารโปรตีนเกินความต้องการให้ถูกแปรเป็นของเหลวที่มีชื่อว่า ยูเรีย (Urea) ถูกขับไปในน้ำปัสสาวะ
  2. ช่วยปรับสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ไตจะช่วยรักษาความสมดุลของเกลือแร่และธาตุภายในร่างกายให้คงที่ ปรับอุณหภูมิภายในร่างกายอยู่ในระดับปกติ อีกทั้งควบคุมการรักษาความสมดุลของกรดและด่างในเลือดไม่ให้สูง-ต่ำจนเกินไป เพราะถ้าหากเซลล์หรืออวัยวะต่างๆจะไม่สามารถทำงานได้ หากผิดปกติมากๆ อาจทำให้เสียชีวิตได้
  3. ช่วยผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นส่วนของไขสันหลังกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาหล่อเลี้ยงไปตามเนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้อย่างเพียงพอ
  4. ช่วยร่างกายในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ วิตามินดี
  5. ช่วยร่างกายควบคุมความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคไตมักมีความดันโลหิตสูงยากต่อการควบคุม

ฉะนั้นการตรวจค่าไตจึงเป็นหนึ่งในการตรวจเช็คสภาพการทำงานของไตว่ามีภาวะการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ หากละเลยการเช็คค่าไตเป็นเวลานาน อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาแล้วนำไปสู่ภาวะพิษตกค้างในร่างกายสะสมไปเรื่อย ๆ จนเกิดการเสียชีวิตขึ้นมาในภายหลัง

ทำไมต้องตรวจการทำงานของไต?

การตรวจคัดกรองการเกิดโรคไตเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรคที่ดีที่สุด หากพบความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค จะได้หาวิธีป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงลง

หากพบว่าเป็นโรคไตแล้ว การรักษาตั้งแต่แรกสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าการรักษาเมื่อโรคเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว และการชะลอความเสื่อมของไตตั้งแต่ระยะแรกๆของโรค จะช่วยป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไตได้

การตรวจค่าไต

ตรวจการทำงานของไต

การตรวจค่าไต (Renal Function Test) คือ การเช็คสภาพของเสียที่ถูกขับจากการทำงานปัจจุบันของไตอย่างการตรวจปัสสาวะ และการเจาะเลือดดูค่าไต เพื่อหาสารยูเรียรั่วไหลในกระแสเลือดนั้น มาจากการทำงานผิดปกติของไตโดยตรงหรือไม่ จึงทำให้มีเครื่องตรวจค่าไตจากผลเลือดตามมาตรฐานที่ช่วยวินิจฉัยสุขภาพไตได้แม่นยำยิ่งขึ้นได้แก่ การตรวจ BUN , Creatinine และ eGFR

นอกจากนี้การตรวจไตยังเป็นการตรวจดูผลกระทบจากการกินยาประจำตัวบางชนิดที่อาจส่งผลให้ไตทำงานหนักจนเสื่อมสมรรถภาพเร็วกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติใดๆ ผู้ป่วยจะได้แจ้งข้อมูลเพื่อให้แพทย์จัดยาชุดใหม่หรือแนะนำวิธีรักษาแบบอื่นๆ ต่อไป

ใครบ้างที่ควรตรวจการทำงานของไต?

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคไต และควรได้รับการตรวจไต มีดังนี้ 

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีมวลดัชนีวัดค่า BMI สูงกว่ามาตรฐาน
  • ผู้ที่ได้รับการตรวจหัวใจ แล้วมีผลวินิจฉัยความดันเลือดสูงหรือต่ำกว่าผิดปกติ
  • ผู้ที่มีรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพรบางชนิดที่อาจทำลายเนื้อไตได้
  • ผู้ที่มีลักษณะร่างกายภายนอกของผู้ป่วย มีอาการบวมตามใบหน้า ตัว และช่วงเท้า
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมและมีประวัติการบริโภคสารเสพติดเกินขนาด เช่น สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคไตเรื้อรังผ่านพันธุกรรม เช่น เป็นโรคถุงน้ำไต
  • ผู้ที่มีมีอาการอยากปัสสาวะบ่อย และลักษณะของน้ำปัสสสาวะมีภาวะเลือดปน หรือเป็นฟอง
  • ผู้ที่มีมีอาการวินเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นำไปสู่อาการคลื่นใส้จนถึงขั้นอาเจียนออกมา
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์  โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

ถึงแม้คุณจะยังไม่จัดเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคไต อาจอายุยังน้อย หรือร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ ก็อย่าประมาทและควรมารับการตรวจไตทุกปี

ตรวจการทำงานของไตที่ไหนในภูเก็ต

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก