การตรวจกรุ๊ปเลือดเป็นกระบวนการที่สำคัญและมีความสำคัญสูงในด้านการดูแลสุขภาพของบุคคลทั่วไป หากเราเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจกรุ๊ปเลือด จะช่วยให้เราสามารถรักษาและป้องกันอาการผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การตรวจกรุ๊ปเลือดจะช่วยให้เราทราบถึงลักษณะเฉพาะของกระบวนการทำงานของร่างกาย เช่น ความสามารถในการย่อยอาหาร การสร้างภูมิคุ้มกัน หรือการขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกาย

การตรวจกรุ๊ปเลือดยังเป็นปัจจัยสำคัญในการวินิจฉัยและการรักษาโรค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานของร่างกายอาจส่งผลต่อการรับยา หรือวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาอาการผิดปกติหรือโรคให้ดีขึ้น

ความสำคัญการตรวจกรุ๊ปเลือด

กรุ๊ปเลือด คืออะไร?

กรุ๊ปเลือด, กรุ๊ปโลหิต, หมู่เลือด หรือหมู่โลหิต (Blood group หรือ Blood type) คือ ตัวบ่งบอกความแตกต่างของเลือด ซึ่งสามารถทราบได้จากการเจาะเลือด โดยดูจากสารที่มีชื่อว่า แอนติเจน (Antigens) เป็นสำคัญ การทราบกรุ๊ปเลือดของตัวเองถือเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรรู้ เนื่องจากจะช่วยให้แพทย์ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายเลือด (Blood Transfusion)

ความสำคัญของการทราบกรุ๊ปเลือด

การใช้กรุ๊ปเลือดเป็นหลักในการพิจารณาหาเลือดที่เหมาะสม และเข้ากันได้กับผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดเพื่อการรักษาภาวะผิดปกติของร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากการรับเลือด คือ เมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินจะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยต้องเข้ารับการเปลี่ยนถ่ายเลือด (ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างการผ่าตัดหรือการเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะ) ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ทราบกรุ๊ปเลือดของตัวเองหรือแจ้งกรุ๊ปเลือดผิดก็อาจส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยได้ (เช่น ผู้ป่วยมีเลือดกรุ๊ปบี แต่ได้รับเลือดกรุ๊ปเอ แอนติบอดีชนิดเอที่อยู่ในน้ำเลือดของผู้ให้จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดที่มีแอนติเจนชนิดเอของผู้รับ)

กรุ๊ปเลือดมีความสำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์หรือผู้วางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะแพทย์จะได้พร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เพราะหากแม่มีกรุ๊ปเลือดอาร์เอชลบ แต่พ่อมีกรุ๊ปเลือดอาร์เอชบวก ทารกอาจมีแนวโน้มที่จะมีกรุ๊ปเลือดชนิดอาร์เอชบวกและมีโอกาสเสียชีวิตในครรภ์ได้ ทำให้แม่ต้องรับยา Rh immunoglobulin (RhoGAM) เพื่อป้องกันไม่ให้แม่สร้างแอนติบอดีที่ไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดของทารกในกรณีที่เลือดของแม่และเด็กเกิดการผสมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์

ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ กรุ๊ปเลือดถูกนำมาใช้เพื่อระบุความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรมถึงความเป็นพ่อแม่ลูกกันและใช้ศึกษาการสืบเชื้อสายของเหล่าพันธุ์ได้ อีกทั้งยังใช้ในการช่วยระบุตัวคนร้ายในกรณีที่เกิดเหตุอาชญากรรมได้ด้วย

ความสำคัญของโลหิตหมู่พิเศษ

ผู้ที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ Rh- หากต้องการรับเลือดในการรักษาพยาบาล จำเป็นต้องได้รับเลือดที่มีหมู่ Rh- ด้วยเหมือนกัน เพื่อป้องกันการกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี ต่อ แอนติเจนชนิดดีใหญ่ D ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้ป่วยที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ Rh- ที่ยังไม่สร้างแอนติบอดี ต่อแอนติบอดีชนิดดีใหญ่ D สามารถรับโลหิตหมู่เลือดอาร์เอชบวก Rh+  ได้เพียงแค่ 1 ครั้ง เพราะการรับโลหิตใรหมู่เลือดอาร์เอชบวก Rh+  อีก ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ทำลายเม็ดเลือดแดง เป็นอันตรายสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ชนิดของกรุ๊ปเลือด

ชนิดของกรุ๊ปเลือดสแบ่งออกได้ตามระบบของกรุ๊ปเลือด ซึ่งมีทั้งหมด 2 ระบบใหญ่ ๆ ได้แก่

ระบบเอบีโอ (ABO System) เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด ซึ่งแบ่งกรุ๊ปเลือดออกเป็น 4 ชนิด คือ

  • กรุ๊ปเลือด A คือกรุ๊ปเลือดที่มีแอนติเจนชนิดเอ (A Antigens) ที่เซลล์เม็ดเลือดแดง และมีสารแอนติบอดีชนิด แอนติ-บี (Anti-B) ในพลาสม่า
  • กรุ๊ปเลือด B คือกรุ๊ปเลือดที่มีแอนติเจนชนิดบี (B Antigens) ที่เซลล์เม็ดเลือดแดง และมีสารแอนติบอดีชนิด แอนติ-เอ (Anti-A) ในพลาสม่า
  • กรุ๊ปเลือด O คือกรุ๊ปเลือดที่ไม่มีแอนติเจน แต่มีแอนติบอดีทั้งชนิด แอนติ-เอ และ แอนติบี ในพลาสม่า
  • กรุ๊ปเลือด AB คือกรุ๊ปเลือดที่มีแอนติเจนทั้งชนิดเอ และบี แต่ไม่มีแอนติบอดีชนิดเอและบีในพลาสม่า

ระบบอาร์เอช (Rh System) ในบางกรณีเซลล์เม็ดเลือดแดงอาจมีแอนติเจนชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แอนติเจนชนิด อาร์เอชดี (RhD Antigens) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • อาร์เอชบวก (Rh Positive – Rh+) ผู้ที่กรุ๊ปเลือดดังกล่าวจะมีแอนติเจนชนิดอาร์เอช (Rh antigens) และสามารถรับเลือดได้ทั้งชนิดอาร์เอชบวก และ อาร์เอชลบ
  • อาร์เอชลบ (Rh  Negative – Rh-) ผู้ที่มีกรุ๊ปเลือดนี้จะไม่มีแอนติเจนชนิดอาร์เอชที่เซลล์เม็ดเลือดแดง และสามารถรับเลือดได้แค่เพียงชนิดอาร์เอชลบเท่านั้น

ความสำคัญของการตรวจกรุ๊ปเลือด

การตรวจเลือดใช้เพื่อระบุกรุ๊ปเลือดของผู้ป่วยก่อนให้หรือรับเลือด และเพื่อระบุกรุ๊ปเลือดของผู้ที่ต้องการมีบุตรเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเข้ากันไม่ได้ของ Rh ระหว่างมารดาและบุตร

สถานการณ์ที่จำเป็นต้องมีการถ่ายเลือด ได้แก่

  • ภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรงหรือความผิดปกติเกี่ยวกับโลหิตจาง เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว และธาลัสซีเมีย (โรคเกี่ยวกับเลือดแต่กำเนิด)
  • มีเลือดออกในระหว่างหรือหลังผ่าตัด
  • ได้รับบาดเจ็บเสียเลือดมาก
  • โรคมะเร็งหรือผลของเคมีบำบัด
  • พยาธิวิทยาเกี่ยวกับโลหิต เช่น ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด

นอกจากนี้ การตรวจเลือดยังใช้เมื่อต้องการบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือไขกระดูก หรือกับผู้ป่วยที่ต้องการบริจาคเลือด การทดสอบแบบนี้เป็นหนึ่งในการทดสอบอีกหลายอย่างที่ดำเนินการเพื่อประเมินความเข้ากันได้ระหว่างผู้บริจาคและผู้รับเลือด

ในบางครั้ง การตรวจหมู่เลือดยังดำเนินการเพื่อตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วย

การตรวจหากรุ๊ปเลือดสามารถทำได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก