โรคไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) เป็นภาวะที่ตรวจเลือดพบว่ามีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอไรด์สูง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

การบริโภคอาหารที่มากเกิน

สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูง

  • กรรมพันธุ์, ความผิดปกติทางพันธุกรรม ครอบครัวมีประวัติไขมันในเลือดสูง
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางชนิด
  • โรคตับ โรคไตบางชนิด
  • ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ (ยาคุมกำเนิด) ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • การตั้งครรภ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะขาดการออกกำลังกาย ร่างกายขาดการใช้พลังงาน
  • สัมพันธ์กับโรคอื่น เช่น ภาวะโรคอ้วน
  • การบริโภคอาหารที่มากเกิน ได้แก่ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง นำไปสู่ภาวะโคเลสเตอรอลสูง การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมาก

อาการของโรคไขมันในเลือดสูง

​ในระยะแรก อาจตรวจพบได้ยาก เพราะไม่มีอาการแสดงแต่หากในร่างกายมีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ต่อมาอาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้

  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด วิงเวียนเมื่อลุกนั่งเร็วๆ หรือก้มหน้านานๆ เวียนหัว คล้ายจะเป็นลม
  • ปวดหัวบ่อยๆ
  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปลายมือปลายเท้าเย็น
  • เวลาขึ้นบันใด หรือออกกำลังกายเบาๆ แล้วเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหมือนมีอะไรกดทับ
มีโรคประจำตัวทำให้ไขมันในเลือดสูง

การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง

1.ควบคุมการรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันสัตว์ นม เนย ไข่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ส่วนที่ติดมันทุกชนิด หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เป็นต้น

  • ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
  • ใช้วิธีการนึ่ง ต้ม อบ อาหาร แทนการทอด หรือผัด
  • ควรเพิ่มอาหารพวกผักต่างๆ และผลไม้ เพื่อให้มีเส้นใยอาหารและกากมากขึ้น เพราะกากใยเหล่านี้จะช่วยให้ดูดซึมไขมันลดน้อยลง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และรับประทานขนมหวาน เพราะจะสะสมกลายเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้

2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง คือ ออกกำลังกายครั้งละประมาณ 30-40 นาที และอย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์
3.งดการสูบบุหรี่ นอกจากจะช่วยรักษาภาวะไขมันผิดปกติในเลือกได้แล้ว ยังจะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย
4.ลดน้ำหนักตัวหรือควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้อ้วนเกินเกณฑ์ปกติ
5. ถ้าท่านมีโรคประจำตัวที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง โรคของต่อมไร้ท่อบางอย่าง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาและปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
6.ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความเสี่ยงร่วมและตรวจติดตามระดับไขมันในเลือด
7.หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้ผ่องใส พักผ่อนให้เพียงพอ

ตรวจโรคไขมันในเลือดสูงที่ภูเก็ตตรวจได้ที่ไหน?

ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก ให้บริการที่ใกล้ชิด ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมทั้งทีมงานที่มีความชำนาญ พร้อมให้คำปรึกษาและ การรักษา โดยคุณสามารถเข้ารับบริการได้ทั้ง walk-in หรือนัดหมายล่วงหน้า เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับบริการ
จองคิวออนไลน์ https://phuketmedicalclinic.youcanbook.me
เวลาทำการ 🕙 10:00-18:00 น. ทุกวัน
เบอร์ติดต่อ ☎️ 096-696-2449
Line id : @pmcphuket (มี @ ด้วยนะครับ) หรือ https://lin.ee/R1TKRDo
แผนที่ 📌https://goo.gl/maps/xu45eTQUTjgpukJa7
Website 🌐https://phuketmedicalclinic.com
ปรึกษาแพทย์หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยนะครับ
Inbox : m.me/100483916443107
สุขภาพคุณให้เราดูแล#คลินิกภูเก็ต
Phuket #Clinic #ภูเก็ตเมดิคอลคลินิก