PEP ยาต้านฉุกเฉิน เป็นยาที่ใช้สำหรับป้องกันโรคหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี เป็นการรักษาเชิงป้องกันที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อหลังจากมีความเสี่ยงมาเรียบร้อยแล้ว มันเกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านไวรัสภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยา PEP สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือถูกเข็มทิ่มตำในกรณีบุคลากรทางการแพทย์ PEP ทำงานโดยไปยับยั้งการจำลองแบบของไวรัสเอชไอวีในร่างกาย ป้องกันไม่ให้มีการติดลุกลาม ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดเมื่อเริ่มภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากสัมผัสเชื้อ ยิ่งเริ่มการรักษาเร็วเท่าไหร่โอกาสในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

PEP ยาต้านฉุกเฉิน ช่วยป้องกัน HIV ได้จริงไหม

ทำความรู้จัก PEP ยาต้านฉุกเฉิน

PEP หรือ Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยตัวยา 3 ชนิดรวมกัน คือ ทีโนโฟเวียร์ 300 มล. (Tenofovir : TDF), เอ็มตริไซตาบีน 200 มล. (Emtricictabine : FTC) และโดลูเทกราเวียร์ 50 มล. (Dolutegravir : DTG) และยังมีสูตรยาอื่นๆ อีกเพิ่มเติม ก่อนเริ่มใช้ยาผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ เพื่อพิจารณาเลือกใช้สูตรยาที่มีความเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ PEP ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์หลายประเทศ ว่ามีความปลอดภัยในการรับประทานเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ และสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้มากกว่า 80% โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ดังนี้:

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงจะต้องรีบกินยา PEP ให้เร็วที่สุด และต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เสี่ยง เพื่อช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ทันเวลา เนื่องจากไวรัสเอชไอวีมีความสามารถในการแพร่ขยายจำนวนได้รวดเร็วมาก จากงานวิจัยพบว่าถ้าเชื้อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ อาจเจริญเติบโตแบ่งตัวออกเป็นจำนวนมากได้เพียงแค่ 24-36 ชั่วโมงเท่านั้น! หากจำนวนของเชื้อมีเยอะ การกินยา PEP ช้าเกินไปอาจไม่ได้ผล
  • ผู้ที่กินยา PEP จะต้องไม่ขาดยา โดยกินให้ครบตามแพทย์สั่งคือ 28 วัน และกินยาตรงต่อเวลาทุกวัน
  • แพทย์จะต้องพิจารณาถึงประวัติความเสี่ยงที่มากน้อยต่อเชื้อเอชไอวี และในช่วงระหว่างที่ทานยา PEP อยู่จะต้องไม่มีความเสี่ยงเพิ่ม
ใครบ้างที่ควรจะกิน PEP ยาต้านฉุกเฉิน

ใครบ้างที่ควรจะกินยา PEP?

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่สวมถุงยางอนามัย กับคู่นอนที่ไม่รู้สถานะเอชไอวี หรือคู่นอนแปลกหน้า
  • ผู้ที่สวมถุงยางอนามัยแล้วเกิดถุงยางแตกรั่ว หรือหลุดออกขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์อยู่
  • ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์เสพยาร่วมกับผู้อื่น ในกรณีผู้ที่ใช้สารเสพติดประเภทฉีดเข้าเส้นเลือด
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขาดสติ มึนเมา หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ ข่มขืน
  • ผู้ที่โดนเข็มฉีดยา มีดผ่าตัด อุปกรณ์ทางการแพทย์ทิ่มตำหรือบาดมือโดยไม่ได้ตั้งใจ

มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? ก่อนที่จะกินยา PEP

หากคุณเกิดกรณีดังกล่าวไปแล้วข้างต้น ให้รีบตั้งสติและหยุดกิจกรรมทางเพศทันที และรีบปรึกษาแพทย์ในเร็วที่สุด หากคุณอยู่จังหวัดภูเก็ต สามารถติดต่อขอรับ PEP ยาต้านฉุกเฉินกับเราได้ที่ ภูเก็ต เมดิคอล คลินิก เราพร้อมให้บริการด้วยความรวดเร็วและมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับยาทันต่อเวลา คลิกจองคิวออนไลน์ได้ที่นี่ ซึ่งหากคุณมีความประสงค์จะกิน PEP แพทย์จะทำการซักประวัติความเสี่ยงโดยละเอียด และตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็นผลลัพธ์ของความเสี่ยงก่อนหน้านี้ (ไม่ใช่ครั้งที่เสี่ยงมาวันนี้) เพื่อให้มั่นใจว่าคุณไม่ได้ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งตรวจการทำงานของตับและไต ถ้าผู้เสี่ยงเป็นเพศหญิง แพทย์จะสั่งตรวจการตั้งครรภ์ รวมไปถึงตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อวินิจฉัยว่าคุณสามารถกิน PEP ได้หรือไม่ เมื่อผลทุกอย่างออกมาว่าคุณสามารถเริ่มยาได้ แพทย์จะทำการจ่ายยาและอธิบายวิธีการกินยา PEP แนะนำรายละเอียด รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ คุณควรเริ่มกินยาให้เร็วที่สุด และไม่เกิน 72 ชั่วโมง จากนั้นให้กินยาต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลา 28 วัน เวลาเดียวกันทุกวันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาเอชไอวี

มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะกิน PEP ยาต้านฉุกเฉิน

ปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงที่กิน PEP ยาต้านฉุกเฉิน

ในช่วงที่กินยา PEP อยู่ หากหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้ ก็ควรหยุดพักไว้ก่อน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้หรือมีความเสี่ยงที่จะรับเชื้อใหม่มาเพิ่มได้ แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงก็ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง โดยจะต้องเลือกใช้ถุงยางอนามัยให้ถูกต้อง ควรสำรวจรอยรั่วและคุณภาพของถุงยางอนามัยก่อนใช้งาน นอกจากนี้ ถุงยางจะต้องไม่หมดอายุ เพื่อจะได้ปกป้องคุณจากความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึง การงดบริจาคเลือดทุกกรณีเช่นกัน

ในเรื่องของผลข้างเคียงของ PEP ยาต้านฉุกเฉิน ปัจจุบัน แทบจะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงแล้ว โดยอาการที่อาจพบได้จะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกที่เริ่มกินยา เช่น ปวดหัว อ่อนเพลีย ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นต้น และอาการจะหายไปได้เองภายหลัง และการกิน PEP เป็นแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ จึงไม่ต้องกังวลถึงผลข้างเคียงระยะยาว แต่หากคุณมีอาการที่รุนแรงผิดปกติให้รีบกลับไปแพทย์ทันที

กิน PEP ครบแล้ว ขั้นตอนต่อไปต้องทำอะไร?

หากคุณกินยาครบหมดแล้ว ให้กลับไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อทำการตรวจเอชไอวีอีกครั้ง และแพทย์อาจมีการนัดตรวจเพิ่ม หลังจากผ่านไปประมาณ 90 วัน เป็นการยืนยันผลการรักษาที่แน่นอน ซึ่งการนัดตรวจหลังกิน PEP ครบแล้วมีความสำคัญอย่างมากเพื่อเป็นการเช็คว่ายาใช้ได้ผลดีหรือไม่ และผู้ที่กิน PEP ควรมีการติดตามผลเลือดอย่างสม่ำเสมอ และประเมินความเสี่ยงต่อ หากยังมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงอีก แนะนำปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการป้องกัน หรือเริ่มกิน PrEP ที่เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีก่อนมีความเสี่ยง ซึ่งเหมาะกับการป้องกันมากกว่า

ปฏิบัติตัวอย่างไรในช่วงที่กิน PEP ยาต้านฉุกเฉิน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ PEP ยาต้านฉุกเฉิน

  • PEP สามารถรักษา HIV ได้
    • PEP ไม่ใช่วิธีรักษา HIV แต่เป็นมาตรการป้องกันหลังจากได้รับความเสี่ยงไม่เกิน 72 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้หากติดเชื้อไวรัสอยู่ก่อนแล้ว
  • PEP มีประสิทธิภาพ 100%
    • แม้ว่า PEP สามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ HIV ได้แต่ก็ไม่ได้ผล 100% เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ รวมถึงระยะเวลาที่เริ่มกินยาและการปฏิบัติตามขั้นตอนการรักษาที่แพทย์กำหนด
  • PEP สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้
    • PEP ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV และไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ การใช้ถุงยางอนามัยยังคงมีความจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของกามโรค
  • PEP ใช้ป้องกันเอชไอวีได้เรื่อยๆ
    • PEP มีไว้ใช้สำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวีเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นรูปแบบปกติของการป้องกันเอชไอวี สำหรับการป้องกันอย่างต่อเนื่องควรเลือกใช้วิธี PrEP จะเหมาะสมกว่า
  • ยา PEP สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
    • PEP ไม่มีจำหน่ายที่ร้านขายยา หากคุณต้องการกิน PEP จะต้องพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยงที่เจอและต้องทำการตรวจเลือดก่อนกินยา
  • กิน PEP ตอนไหนก็ได้หากมีความเสี่ยง:
    • PEP จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเริ่มให้เร็วที่สุดหลังจากได้รับสัมผัส โดยควรกินภายใน 72 ชั่วโมง การกินยาล่าช้าหรือขาดหายอาจทำให้ฤทธิ์ยาไม่ได้ผล

อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ความสำคัญของการตรวจเอชไอวี

กล่าวโดยสรุป PEP ยาต้านฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในกรณีที่มีความเสี่ยงใหม่ๆ ถือเป็นสูตรระยะสั้นของยาต้านไวรัสเอชไอวีที่กินเพียงแค่ 28 วันโดยประมาณ เพื่อไปยับยั้งการจำลองแบบของไวรัสเอชไอวีไม่ให้แพร่จำนวนในร่างกาย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือที่ต้องทราบว่า PEP ไม่ได้ผล 100% กับทุกคนและไม่ควรนำไปใช้แทนมาตรการป้องกันอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำ การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และการพิจารณาการป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อหรือยาเพร็พ (PrEP) เพื่อการป้องกันอย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดที่ทำให้คุณห่างไกลจากโรคร้ายได้ครับ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 10:00-18:00 น.
เบอร์โทร : 096-6962449
Line ID มี @ ด้วยนะครับ : @pmcphuket
แผนที่ : https://goo.gl/maps/nQ9S68sLSKwq9aoP6